คำถาม #MissUniverse2019 ตอบแบบนี้ ถ้ามงไม่ลง จะงงมาก!

9 ธันวาคม 2562

Amnesty International Thailand

ภาพ : Miss Universe

ช่วงแอมเนสตี้ตอบคำถามนางงามกลับมาอีกแล้ว เวทีประกวดแห่งนี้มักมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม การเคลื่อนไหวทางสังคม และสิทธิมนุษยชนให้เราติดตามกันทุกปี สำหรับปีนี้แอมเนสตี้ขอเลือก 5 คำถามจากรอบ 5 คนสุดท้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน มาขยายความต่อจากคำตอบของเหล่านางงาม เผื่อว่าใครอยากหาข้อมูลไว้ลงประกวดปีหน้า!

 

#MissUniverse2019 #MissUniverseThailand

 

การประท้วงเป็นวิธีการทางบวกที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่?

 78944317_3151140798246324_2868589896581251072_o.jpg

การประท้วงเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนไม่ว่ากลุ่มไหนหรือฝ่ายใดในทุกประเทศต้องได้รับ และเป็นสิทธิที่ถูกระบุไว้ในในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ทุกเสียงจึงมีความหมาย ไม่ว่าจะคัดค้านสนับสนุน และเมื่อเสรีภาพของคนใดคนหนึ่งถูกคุกคาม เสรีภาพของทุกคนย่อมตกอยู่ในอันตรายไม่ต่างกัน

 

แอมเนสตี้เสนอให้ประเทศไทยดำเนินการเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมดังนี้

• ยกเลิกบทลงโทษทางอาญาหรือทางปกครองในพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 กรณีที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าว่าจะมีการชุมนุม รวมถึงข้อบทใดที่เอาผิดต่อการ
ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมอย่างสงบ
• ยุติการดำเนินคดีอาญากับบุคคลที่เป็นเป้าหมาย เนื่องมาจากการใช้สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ และยกเลิกคำตัดสินโทษของบุคคลที่เป็นเป้าหมายจากสถานการณ์ดังกล่าวในอดีต

อ่านต่อ https://buff.ly/2HEvEBF

 

 

อะไรสำคัญกับคุณมากกว่ากันระหว่างความเป็นส่วนตัวและความมั่นคง?

78961154_3151140781579659_1642081815348903936_o.jpg

สิทธิความเป็นส่วนตัวของเราทุกคนนั้นถูกรับรองไว้ใน “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" ข้อที่ 12

แต่ในโลกยุคสมัยใหม่บริษัทเทคโนโลยีต่างกุมอำนาจมหาศาล ในโลกดิจิทัลพวกเขาเก็บรวบรวมและค้ากำไรจากข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหลายพันล้านคน จึงทำลายความเป็นส่วนตัว และเป็นปัญหาท้าทายสำคัญสุดอย่างหนึ่งต่อสิทธิมนุษยชนในยุคของเรา

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรื้อโครงสร้างธุรกิจที่มีการสอดส่องออนไลน์และคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัยจากการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนของบรรษัท  ทั้งนี้โดยการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่เข้มแข็ง และการใช้มาตรการที่เป็นผลเพื่อควบคุมให้บริษัท ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดำเนินการอย่างสอดคล้องตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ที่สำคัญต้องไม่ใช้เหตุผลด้าน “ความมั่นคง” ในการละเมิดสิทธิของประชาชน

 

แอมเนสตี้เสนอให้ประเทศไทยดำเนินการเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัวดังนี้ 

• แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเพื่อป้องกันการสอดส่องในวงกว้างและ/หรือโดยพลการ เนื่องจากกฎหมายที่กำกับดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทยให้อำนาจกว้างขวางกับรัฐในการสอดส่องข้อมูลส่วนบุคคลในวงกว้าง รวมถึงการเข้าถึงเมตะดาต้าในระหว่างการสอบสวนอาชญากรรม เนื่องจากในปัจจุบันทางการได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในการยึดข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องขอหมายศาลในกรณีที่เข้าข่าย “สถานการณ์ฉุกเฉิน”

อ่านต่อ https://buff.ly/2HEvEBF

 

 

คุณเชื่อว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในประเด็นสุขภาพของผู้หญิง?

 78669465_3151140448246359_1925242390629580800_o.jpg

สิทธิทางเพศ และสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ การแต่งงาน และความรุนแรง ล้วนมีความสำคัญต่อผู้หญิงและเกี่ยวข้องกับการถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเพศ โดยในยุคสมัยนี้ก็ยังถือว่ามีอุปสรรคสำหรับขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิง แต่สภาพความเป็นจริงคือรัฐบาลจำนวนมากในปัจจุบัน หรือแม้แต่สังคมเองยังคงสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่กดขี่เพศหญิง โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีขบวนการเคลื่อนไหวที่นำโดยผู้หญิงในหลายแห่งของโลก ยกตัวอย่างเช่นในอาร์เจนตินาที่มีผู้หญิง 1 ล้านคนออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเรียกร้องให้การทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ที่ไนจีเรียก็มีผู้หญิงพลัดถิ่นหลานพันคนขับเคลื่อนต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมจากการที่พวกเธอถูกล่วงละเมิดทั้งจากกลุ่มติดอาวุธและกองกำลังความมั่นคงของไนจีเรียเอง หรือกลุ่มผู้หญิงในอินเดียที่เรียกร้องสิทธิในการเข้าร่วมแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญของฮินดู ที่ห้ามไม่ให้ผู้หญิงในวัยที่มีประจำเดือนเข้า

 

แอมเนสตี้มีข้อเสนอรัฐบาลทั่วโลกดำเนินการเรื่องสิทธิทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ดังนี้

ปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีอายุมากกว่า 40 ปีแล้วและ CEDAW จะกลายเป็นหลักไมล์สำคัญที่โลกไม่ควรมองข้ามถึงแม้ CEDAW จะมีการให้สัตยาบันจาก 189 ประเทศแต่เนื่องจากไม่มีบัญญัติในรูปแบบที่มีผลบังคับทางกฎหมายทำให้รัฐบางรัฐปฏิเสธการทำตามข้อกำหนดในอนุสัญญานี้เช่นคูเวตที่ไม่ยอมรับมาตรา 9 ว่าด้วยการให้สิทธิเท่าเทียมทางเพศระหว่างหญิงชายรวมถึงเราคพในเชื้อชาติของเด็กประเทศไนเจอร์ก็ไม่ยอมรับมาตราที่ 2 ที่ระบุห้ามไม่ให้รัฐเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงรวมถึงให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ

 

โซเชียลมีเดียควรที่จะเคารพเสรีภาพในการแสดงออก หรือควบคุมสิ่งที่คนพูด?

 79876732_3151140478246356_35502414417100800_o.jpg

ข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลคืออำนาจ ประชาชนกว่าพันล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลบนโลกดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย แล็ปท็อปและสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อเรากับโลกอินเตอร์เน็ตสร้างความเปลี่ยนแปลงกับชีวิตผู้คน ประชาชนสามารถแสดงออกเข้าถึงข้อมูลเผยแพร่ภาพผ่านเฟซบุ๊กทวิตเตอร์ และระดมรายชื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เพียงปลายนิ้ว

เสรีภาพในการแสดงออกเป็นพื้นฐานของความเจริญของสังคมและความงอกงามของปัจเจกบุคคล คุณภาพการศึกษา การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของภาคธุรกิจ และการเข้าถึงความยุติธรรม ล้วนมีพื้นฐานจากการที่บุคคลทุกคนในสังคมมีเสรีภาพที่จะพูด เขียน แลกเปลี่ยน หรือถกเถียงความคิดความเห็นต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ความคิดเหล่านั้นพัฒนาต่อยอดนำไปสู่ความรุ่งเรืองของสังคม

เราอาจเคยชินกับการเซ็นเซอร์ตัวเองในการแสดงความเห็นประเด็นทางสังคมบางประเด็นในพื้นที่สาธารณะ หรือบนโลกดิจิทัล โดยอาจไม่เคยเอะใจว่าการเซ็นเซอร์การแสดงออกของตัวเองหรือการถูกเซ็นเซอร์จากโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เราควรจะยอมรับหรือไม่ และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ในอนาคต เรา เพื่อน หรือบุคคลที่เรารัก อาจจะตกอยู่ในอันตรายจากการถูกจับกุมหรือถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะการแสดงออกอย่างสงบก็เป็นได้ แล้วเราจะมีหนทางเปลี่ยนวิถีที่ไม่ควรจะถูกต้องเหล่านี้อย่างไร 

 

แอมเนสตี้เสนอให้ประเทศไทยดำเนินการเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกดังนี้

• แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายและคำสั่งที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกโดยเกินขอบเขต

• ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา

• ยุติการดำเนินคดีอาญากับนักกิจกรรมผู้สื่อข่าวนักการเมืองทนายความนักศึกษาและบุคคลอื่นใดที่ตกเป็นเป้าหมายเนื่องจากการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและ

• ประกันว่าจะมีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวในขณะนี้

อ่านต่อ https://buff.ly/2HEvEBF

 

 

ผู้นำโลกในขณะนี้ดำเนินการมากพอหรือยังในการปกป้องโลกจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ?

 79136858_3151140464913024_2812719312727441408_o.jpg

ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมามองเรื่องนี้กันอย่างมากขึ้นในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่นักกิจกรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการออกมาปกป้องสิ่งแวดล้อม การเกิดกลุ่มเคลื่อนไหวซึ่งนำโดยประชาชนที่เรามักจะเห็นในพาดหัวข่าวบ่อยๆ ไปจนถึงการประท้วงที่รุนแรงเกี่ยวกับการรับมือไฟป่าผู้คนจำนวนมากมายต่างพากันลงไปเดินบนท้องถนน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความกังวลและถามว่าผู้นำจะทำอย่างไรกับวิกฤตการณ์นี้

รัฐบาลทุกประเทศต้องให้ดำเนินการมากขึ้นด้านสภาวะภูมิอากาศ และให้ดำเนินการอย่างสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน สิ่งสำคัญมากสุดคือการทำให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบมากสุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ รวมทั้งเด็กและเยาวชนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พวกเขาควรได้รับข้อมูลและความรู้ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการอภิปรายและควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขาโดยตรง

 

แอมเนสตี้เสนอให้ผู้นำทั่วโลกดำเนินการเรื่องสภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านทางสภาพภูมิอากาศเนื่องจาก

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศอาจส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามรุ่นคนครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

แม้ว่าเรามักเข้าใจว่าวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่ผลกระทบที่เลวร้ายจากวิกฤตนี้ต่อประชาชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตทำให้กลายเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เร่งด่วนเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศทำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมที่มีอยู่ซับซ้อนและขยายตัวขึ้น สร้างผลกระทบที่เพิ่มขึ้นและเลวร้ายมากขึ้น และสร้างหายนะให้กับคนในรุ่นปัจจุบันและในอนาคต 

อ่านต่อ https://www.amnesty.or.th/latest/news/716

 

อ่านคำตอบจาก Miss Universe 2018 ที่นี่