การเมือง กับ สิทธิเหนือเรือนร่าง

12 ตุลาคม 2561

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

บทสัมภาษณ์: เมื่อเพศและการเจริญพันธุ์เป็นอาชญากรรม

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้ปล่อยซีรี่ย์ด้านสิทธิทางร่างกายใหม่ชุด “การเมืองกับสิทธิเหนือเรือนร่าง : เมื่อเพศและการเจริญพันธุ์เป็นอาชญากรรม” ซึ่งแคร์รี่ ไอเซิร์ท และเจมี่ ท็อดด์-เกอร์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและนโยบายของเราที่นิวยอร์กเป็นผู้แต่งร่วม เราจึงเชิญพวกเขามาพูดคุยกันเรื่องนี้และ ตั้งคำถามต่อไปว่าทำไมการที่สิทธิด้านนี้มักถูกทำให้ผิดกฎหมาย จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราทุกคน

 

 

ซีรี่ย์ชุด “การเมืองกับสิทธิเหนือเรือนร่าง”คืออะไร

 

นี่คือเครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับการเคลื่อนไหวระดับโลกของเรา เราใช้ซีรี่ย์นี้ในการท้าทายและตั้งคำถามกับสังคมว่า ทำไมการทำให้เพศสภาพและการเจริญพันธุ์เป็นถูกทำให้เป็นเรื่องผิดกฎหมายทั้งในสหรัฐและรอบโลก โดยในซีรี่ย์นี้จะมีทั้งหนังสืออ้างอิง และ คู่มือเกี่ยวกับวิธีทำแคมเปญในปัญหานี้ รวมถึงเครื่องมือในการปรับใช้

 

 

แล้วทำไมรัฐจึงมักทำให้เพศสภาพและการเจริญพันธุ์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย

 

มีหลายเหตุผลมากสำหรับปัญหานี้ แต่ที่บ่อยที่สุดมักจะเป็นเรื่องศีลธรรม ศาสนา ความพยายามที่จะ “ปกป้อง” เด็กและผู้หญิง วัฒนธรรม ไปจนถึงความเป็นชาตินิยม นอกจากนี้รัฐยังต้องการที่จะควบคุมและกดขี่ผู้คนที่ท้าทายจารีตด้านสังคม เพศสัมพันธ์ และเพศสภาพ ด้วยการใช้กฎหมายอาญาในการขีดเส้นสิ่งที่  “ผิด” หรือว่า “ไม่ควร” ก็มักจะเป็นทางเลือกที่ดีในสายตาของผู้กำหนดนโยบายหรือกฎหมายเมื่อพวกเขาต้องการให้สังคมมองว่าเขา “ปกป้อง” สาธารณชน ซึ่งมักจะทำให้พวกเขาได้รับการชื่นชม แต่บางครั้งนโยบายที่ออกมาเพื่อปกป้องประชาชน กลับมีผลข้างเคียงที่เลวร้าย อย่างเช่นการห้ามใช้ยาบางอย่างในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งในแง่สาธารณสุขอาจฟังดูดี แต่ผลที่เกิดขึ้นคือมีหญิงมีครรภ์จำนวนมากที่ไม่กล้าไปโรงพยาบาลเพราะกลัวที่จะถูกตั้งข้อหา และในหลายๆ ครั้งที่ข้อกฎหมายถูกตั้งขึ้นเพื่อเพ่งเล็งและลงโทษคนที่เป็นจำเลยสังคมอยู่แล้ว เช่นเวลาที่ตำรวจจัดผู้หญิงข้ามเพศเป็นกลุ่มขายบริการทางเพศ

 Amnesty-International-My-Body-My-Rights.jpg

 

แล้วทำไมมันถึงเป็นปัญหา

 

เพราะการเขียนกฎหมายลักษณะนี้ทำให้ประชาชนมากมายไม่สามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนได้ และทำให้มีคนอีกเป็นล้านคนในโลกที่ถูกปฏิเสธศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รัฐได้ใช้กฎหมายอาญาและกฎศาสนาต่างๆ ในการควบคุมร่างกายของเรา ซึ่งมันมีผลกระทบต่อสิทธิเหนือเรือนร่างของเรา และเป็นผลกระทบลูกโซ่ไปยังสิทธิอื่นๆ เช่น การเป็นอิสระจากการเลือกปฏิบัติ สิทธิทางสุขภาพและความเป็นส่วนตัว ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบังคับว่าเราจะมีเซ็กส์กับใครได้เพราะอะไร หรือการที่รัฐควบคุมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์ เพื่อจะหว่านล้อมว่าเราควรจะมีลูกตอนไหนหรือจะมีหรือไม่ นอกจากนี้รัฐยังควบคุมว่าเราจะแสดงออกถึงเพศของเราได้อย่างไร ซึ่งเป็นการบีบคั้นไม่ให้เราแสดงออกถึงตัวตนเราได้อย่างแท้จริง

 

 

แล้วคนที่ขัดขืนเขาเจอกับอะไรบ้าง

 

อาชญากรรมด้านเพศสภาพและการเจริญพันธุ์มักจะบังคับใช้ด้วยการจับกุมโดยพลการ บทลงโทษที่ไม่ยุติธรรม การขูดรีด ความรุนแรง และการกลั่นแกล้ง รวมไปถึงการสนับสนุนมายาคติของสังคมที่ยิ่งกีดกันคนกลุ่มนี้ออกไป ท้ายที่สุดคนพวกนี้ก็จะตกอยู่ในจุดต่ำสุดทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการสำคัญอย่างการพยาบาล ที่อยู่อาศัย หรือการศึกษาได้ นี่คือสาเหตุที่เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องแบบนี้

 

pride option 2.jpg

 

ใครได้รับผลกระทบที่สุด

 

กฎหมายและนโยบายเหล่านี้มักจะถูกบังคับใช้กับผู้ที่ถูกเพ่งเล็งไว้ ผิดกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะคนที่ทำตัวผิดจากจารีตของสังคม คนเหล่านี้มักถูกแบ่งแยกจากสังคมอยู่แล้ว และการบังคับใช้กฎหมายก็จะทำให้ชีวิตของพวกเขาต้องยิ่งตกต่ำ และเมื่อเราถูกบังคับให้ปกปิดเพศสภาพของตัวเอง เราก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเรามีสิทธิในการแสดงออก และมีเสรีภาพทางความคิด ความเชื่อและมโนธรรมอย่างแท้จริง

 

 

เราต้องการอะไรจากงานนี้

 

เราเชื่อว่าเราควรจะมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้เองถึงเพศสภาพและความสนใจในเพศใดๆ เราต้องการให้ทุกคนมีอิสระในการเลือกว่าอยากจะมีลูกหรือไม่ เมื่อไหร่ กับใคร และมีอิสระว่าจะแต่งงานหรือไม่ เมื่อไหร่

อิสระในการตัดสินใจเหนือเรือนร่าง เพศ และการเจริญพันธุ์ของตัวเองเป็นส่วนสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะมันเป็นหนทางสู่การเติมเต็มทั้งทางกาย ทางอารมณ์ ทางจิตใจ และทางสังคม ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงความหมายของสิทธิมนุษย์ชนอย่างแท้จริง

 

 fd5439440f94131c9840e066681b21eb54749313 (1).jpg

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเพศสภาพและการเจริญพันธุ์

 

 

  1. ห้ามกิจกรรมรักร่วมเพศ

การใช่กฎหมายอาญาที่เปิดช่องให้กลั่นแกล้ง ควบคุมและลงโทษผู้ที่แสดงออกทางเพศขัดต่อจารีตของสังคม

 

 

  1. ห้ามมีเพศสัมพันธุ์นอกสมรส

มักจะใช้คำว่า ‘การผิดประเวณี’ ในทางกฎหมาย แต่การบังคับใช้มักจะเป็นไปเพื่อลงโทษและรับรองการลงทัณฑ์โดยสังคมกับฝ่ายหญิงเท่านั้น

 

 

  1. ห้ามผู้ติดเชื้อHIVปกปิดประวัติรวมถึงลงโทษการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การใช้กฎหมายหรือการลงโทษทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อHIVที่ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในลักษณะที่อาจส่งต่อโรคได้ แม้ผู้ป่วยจะไม่จงใจก็ตาม

 

 

  1. ห้ามเยาวชนเกี่ยวข้องเรื่องเพศ

การปกปิดข้อมูลหรือโอกาศเพื่อ ‘ปกป้อง’ เยาวชนในขณะที่พวกเขาควรต้องเรียนรู้ถึงสิทธิเหนือเรือนร่างและการเคารพต่อการตัดสินใจของคู่ขาตัวเองนั้น มักส่งผลกระทบต่อความรู้ด้านการเจริญพันธุ์ เพศสภาพ และส่งผลต่อความสามารถในการตัดสินใจเมื่อพวกเขาโตขึ้น

 

 

  1. ห้ามการค้าประเวณี

การใช้กฎหมายเพื่อกีดกันผู้ค้าประเวณีจากศักดิ์ศรีและสิทธิเหนือเรือนร่างของพวกเขา

 

 

  1. ห้ามการทำแท้ง

การห้ามทำแท้งทำให้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงจำนวนมากต้องสุ่มเสี่ยงกับผลกระทบทางสุขภาพและจิตใจที่มาจากการอุ้มท้องที่มีปัญหา หรือต้องไปทำแท้งด้วยวิธีที่อันตราย

 

  1. ห้ามตั้งครรภ์

การใช้กฎหมายเพื่อลงโทษผู้หญิงที่ตั้งท้อง โดยผู้หญิงเหล่านี้มักจะเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่อย่างสาหัสอยู่ก่อนแล้ว และพวกเธอมักไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้