ซาลิล เช็ตตี้ : สูตรลับในการปกป้องสิทธิมนุษยชน

8 สิงหาคม 2561

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล

นี่เป็นข้อความในเว็บไซต์ของสำนักข่าว CNN ซึ่งเขียนโดย ซาลิล เช็ตตี้ เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เนื่องในโอกาสอำลาตำแหน่งเลขาธิการแอมเนสตี้ โดยเขาได้เล่าประสบการณ์และเปิดเผยสูตรลับในการปกป้องสิทธิมนุษยชนให้เราฟัง

 

"ตอนที่ผมได้ไปประเทศเปรูปีที่แล้ว ผมได้รับเกียรติพบกับคุณ Melchora Surco ชนพื้นเมืองจาก Alto Huancané หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางเขาแอนเดียน ซึ่งเธอนั้นได้ต่อสู้เพื่อน้ำสะอาดสำหรับชุมชนของเธอมาหลายปีแล้ว

 

คุณ Melchora อายุ 63 ปี แต่เธอนั้นดูแก่ตัวและเหนื่อยกว่านั้น ไม่ใช่แค่เพราะว่าปัญหาสุขภาพจากน้ำที่ปนเปื้อนจากโลหะที่เป็นพิษ แต่จากการต่อสู้เพื่อให้รัฐบาลเปรูปกป้องและดูแลแหล่งน้ำจืดที่เดียวของหมู่บ้านเธอ แต่เธอก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอมแพ้ ซึ่งสำหรับประเทศที่เห็นกลุ่มชนพื้นเมืองเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสองมานานเป็นหลายสิบปี เธอต้องใช้ความอดทนและความกล้าหาญมากโขทีเดียว

 

นี่ก็มาถึงปีที่แปดและเป็นปีสุดท้ายของผมในฐานะเลขาธิการของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ผมสะท้อนประสบการณ์ต่อนักเคลื่อนไหวทั้งหลายที่ผมได้มีโอกาสได้พบเช่น Melchora ผู้ซึ่งยอมทำทุกอย่างเพื่อต่อสู้กับผู้มีอำนาจ ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าความแข็งแกร่งของคนอย่างพวกเขาเป็นข้อโต้แย้งที่ชัดเจน สำหรับผู้คลางแคลงว่าสิทธิมนุษยชนล้มเหลว

 

มันจริงอยู่ที่สิทธิมนุษยชนกำลังอยู่ภายใต้การโจมตี และมีผู้นำน้อยมากที่พร้อมที่จะให้สนับสนุนและเป็นผู้นำทางศีลธรรมในเวทีโลก แน่นอนว่าการถอนตัวของสหรัฐฯ จากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นตัวอย่างล่าสุดของประเด็นนี้

 

มันจริงที่องค์การสหประชาชาตินั้นไม่สามารถรับรองความยุติธรรมระหว่างประเทศต่อการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติได้ เนื่องจากประเทศต่างๆให้ความสนใจต่อตนเองเหนือข้อกล่าวหาของหลักการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นในพม่า ซีเรีย หรือฉนวนกาซา

 

และมันก็จริงว่าการปราบปรามในประเทศต่างๆ นั้นเพิ่มขึ้น อย่างเช่นตุรกี ซึ่งเกือบ 1 ใน 3 ของนักข่าวในโลกที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกนั้นเป็นนักข่าวตุรกี หรือในฟิลิปปินส์ ซึ่ง "สงครามกับยาเสพติด" ของประธานาธิบดีโรดรีโกดูแตร์เตได้ฆ่าคนนับพัน และในประเทศฮังการีซึ่งรัฐบาลได้ริเริ่มการต่อต้านกับองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือผู้อพยพทั้งหมด

 

อย่างไรก็ตามเราไม่ควรที่จะมองถึงการล้มเหลวของการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ อย่างเดียว เพราะในขณะเดียวกันนี้เราก็เห็นได้อย่างชัดว่าความต้องการความยุติธรรมของเราทั้งหลายนั้นสูงกว่าเดิมมาก

 

ยกตัวอย่างเช่น วัยรุ่นที่สร้างแรงบันดาลใจในสหรัฐฯ ที่จัดขบวนรณรงค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้อาวุธที่เข้มงวดมากขึ้น หลังจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมนั้นได้เสียชีวิตที่ Parkland, Florida

 

Matt Deitsch หนึ่งในผู้รณรงค์ที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวได้บอกในการชุมนุมที่ได้จัดโดยแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลที่ผ่านมาว่า ถึงแม้ว่าจะมีผู้คนที่มีอำนาจทางการเงินพยายามทำลายงาน พวกเราก็ได้เรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัวของการพูดออกมา โดยการกล่าวว่า : "ถ้าเป้าหมายของคุณคือการช่วยชีวิตมนุษย์ คุณควรจะทำทุกอย่างให้เป้าหมายนั้นเป็นความจริงโดยไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้น เพราะคุณยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง" เป็นแนวคิดที่คล้ายกับความคิดของนักกิจกรรมหลาย ๆ คนทั่วโลก รวมทั้งคนที่เคยถูกโดนลงโทษเพราะการคิดเช่นนี้

 

การเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้ทำได้แค่ต่อต้านและประท้วง แต่มันสามารถเป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ลองมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์คุณก็จะรู้ว่านี่คือความเป็นจริง อีกทั้งในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นใหม่ในสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้มากมาย

 

ดูอย่างแคมเปญ “Ni Una Menos” ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวทั่วทั้งประเทศในละตินอเมริกาเป็นตัวอย่างสิครับ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายหลายพันคนได้ยืนหยัดร่วมกันเพื่อเรียกหยุดความรุนแรงทางเพศทั่วทั้งภูมิภาค

 

อีกทั้งความคิดที่ว่าผู้หญิงเป็นคนและควรมีสิทธิมนุษยชนนั้นก็เกิดขึ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือในเดือนที่ผ่านมาสภาล่างของอาร์เจนตินาของรัฐสภาลงมติผ่านกฎหมายที่จะอนุญาตให้มีการทำแท้งตามกฎหมาย ซึ่งนี่เป็นการกระทำของผู้หญิงที่มาร่วมกันและออกมาต่อต้านความอยุติธรรมซึ่งนำไปสู่โอกาสในการเปลี่ยนแปลง

 

นอกจากนี้แล้ว จากการประท้วงโอโรโมในประเทศเอธิโอเปียไปถึงการเคลื่อนไหว #FeesMustFall นำโดยนักเรียนในแอฟริกาใต้ ก็ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าการชุมนุมประท้วงอย่างสันตินั้นสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอยากแท้จริงได้

 

คนที่เรียกตัวเองว่า “realists” อาจจะโต้แย้งว่าการประท้วงโดยการใช้ทวิตเตอร์ หรือบทความในหนังสือพิมพ์ยังคงไม่ได้ผลในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราเชื่อว่าผู้คนไม่มีอำนาจอะไรเลยทำไมรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกพยายามอย่างหนักเพื่อไม่ให้ผู้คนพูดออกมา?

 

ความเห็นถากถางดูถูกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิ่งที่ผู้นำต่างๆ นั้นใช้เพื่อที่จะให้ประชาชนต่างๆ หมดความเชื่อในประสิทธิผลของการสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งตรงกันข้ามกับกระแสสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน เพราะสิ่งที่ผมเห็นคือความอยากรู้ที่เพิ่มมากขึ้นต่อความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน จากแค่ในหนึ่งปีที่ผ่านมาเอง คนเกือบครึ่งล้านคนได้เข้าร่วมแอมเนสตี้ในอียิปต์ ปากีสถาน และไนจีเรีย

 

ทั่วโลกมีการสู้รบนับไม่ถ้วนโดยผู้คนจากทุกสาขาอาชีพทุกวัน คนกำลังออกมาพูดเรื่องต่อต้านการทารุณกรรมและเรียกร้องสิทธิที่จะใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและความปลอดภัย นี่แหละเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนสำคัญที่สุด

 

ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายในปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกได้แสดงให้เห็นว่าความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียม จะต้องดำรงอยู่ นี่แหละเป็นสูตรลับของเราและความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"