Photo: titus_jr0

ฟิลิปปินส์ : “เกมโชว์การทรมาน”

3 กุมภาพันธ์ 2558

 

เกมโชว์ที่ได้รับความนิยมอย่าง “วงล้อแห่งโชคชะตา” เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 50 ประเทศทั่วโลกหลายล้านคนได้นั่งติดอยู่หน้าจอโทรทัศน์ของพวกเขาเสมือนว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันที่ลองเสี่ยงโชคของพวกเขาไปกับการหมุนวงล้อด้วยความหวังอันแรงกล้าที่จะเป็นผู้ชนะรางวัล

 

แต่เมื่อปีที่แล้วในฟิลิปปินส์ “roletangkapalaran” (วงล้อแห่งโชคชะตา) กลับได้มาด้วยความอื้อฉาว ซึ่งเรื่องราวที่น่าสยดสยองนี้ถูกค้นพบโดยคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์

 

สิ่งที่ซ่อนอยู่ในมุมมืดของสถานกักกันลับที่ลากูน่า เมืองทางใต้ของเมืองหลวงมะนิลา ได้จำลองเกมวงล้อหลากสีขึ้นมา แต่แทนที่จะเป็นการปั่นวงล้อเพื่อรับรางวัลหรือเงินสด มันกลับถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตัดสินใจเลือกวิธีที่จะทรมานผู้ต้องขังเพื่อความสนุกของตัวเอง

 

ผู้ต้องขังแต่ละคนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์จะถูกนำออกมาจากห้องขังของตัวเองไปที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการหมุนวงล้อและรอผลในสถานกักกันลับ

 

ตัวอย่างเช่น หากหมุนได้ตำแหน่ง “ค้างคาว 30 วินาที” ผู้ต้องขังก็จะต้องถูกแขวนห้อยหัวลงมาเป็นค้างคาวในเวลา 30 วินาที หรือหากหมุนได้ตำแหน่ง “แมนนี่ ปาเกียว 20 วินาที” ผู้ต้องขังก็จะถูกชกโดยไม่หยุดเป็นเวลา 20 วินาทีเป็นต้น



torture-more-funweb_1.jpg

 

โรเวลิโต อัลเมดา (Rowelito Almeda) อายุ 45 ปี ผู้ที่ต้องทนอยู่กับการทรมานเป็นเวลาถึง 4 วัน ในศูนย์กักกันเมื่อเดือนมกราคม ปี 2557 บอกว่าเขายังจำวงล้อที่น่ากลัวนั้นได้เต็มตา

 

 

“ผมเห็นมันครั้งแรกในห้องครัว ทุกครั้งที่ตำรวจไปเที่ยวดื่มกันอย่างหัวราน้ำพวกตำรวจจะนำผู้ต้องขังบางส่วนออกมาจากห้องขังและก็จะใช้วงล้อรูเล็ตกับพวกผู้ต้องขัง” เขากล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

 

 

"ในเวลาสี่วันผมอยู่ที่นั่นแทบจะไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้เลย ผมเห็นผู้ถูกคุมขังหลายคนถูกนำตัวออกมาจากห้องขังของตัวเอง และเมื่อพวกเขากลับมาก็อยู่ในสภาพที่อ่อนแอมาก พวกเขาสองคนอายุ 17 และ 18 ปี ถูกจับในข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครอง วงล้อถูกนำมาใช้กับพวกเขาซึ่งพวกเขาก็ถูกทำร้ายด้วยการช็อตไฟฟ้า ถูกซ้อม ถูกยิงด้วยปืนอัดลมและถูกนำตัวมาไว้ที่หน้ากระดานลูกดอกเพื่อที่ตำรวจจะได้ปาลูกดอกไปที่พวกเขา”
โรเวลิโตได้รอดชีวิตจากวงล้อที่น่าสยดสยองนั้นอย่างหวุดหวิด เมื่อทีมจากคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เข้ามาช่วยเหลือเขาไว้ได้

 

 

“ถ้าทีมจากคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนไม่ได้มาในวันนั้น ผมก็คงจะเป็นรายต่อไป” หนึ่งในผู้ต้องขังได้บอกกับผมว่า “Taryadokana.” ถ้าคุณได้ยินว่า “Taryadokana.” นั่นหมายความว่า คุณคือคนต่อไปในการเล่นวงล้อรูเล็ต

 

 

หลังจากที่สถานกักกันลับถูกค้นพบ วงล้อก็ได้หายไป

 

 

การสอบสวนอย่างเป็นทางการเพื่อหาตัวผู้ที่ใช้วงล้อในการทรมานผู้ต้องขัง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนสิบนายถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่นอกเหนือจากโทษทางปกครองนี้ กลับไม่มีใครในพวกเขาได้รับการตัดสินในศาลเลย

 

 

การนำสิ่งที่ใช้เล่นในเกมโชว์นี้มาใช้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการใช้การทรมานอยู่บ่อยครั้งในประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย

 

 

“ส่วนหนึ่งของข้อตกลง”

 

 

โรเวลิโตเป็นหนึ่งใน 43 ผู้ต้องขังที่ถูกช่วยเหลืออกมาจากสถานกักกันลับ เขาบอกกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่าในขณะที่เขาออกมาจากสถานีตำรวจ ก็ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจฟาดมาที่หน้าเขาด้วยหมวกกันน็อค ทำให้ฟันหน้าของเขาหักไปสี่ซี่ ต่อมาเขาก็ได้ถูกตีซ้ำๆ และก็ถูกช็อตด้วยไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เอาเศษผ้ามายัดปากของเขาไว้ เอาเทปกาวพันหน้าและมือของเขาเหมือนกับว่ากำลังจะนำตัวไปประหาร เขาได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่ตำรวจการพูดคุยกัน และต่อมาการสนทนาก็ตกลงกันว่าไม่เห็นด้วยที่จะจัดการกับเขา

 

 

อ้างอิงถึงการสอบสวนที่ผ่านมาโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่การทรมานยังคงมีอยู่มากมายในฟิลิปปินส์

 

 

ผู้ต้องขังจำนวนมากในความดูแลของตำรวจยังคงถูกตำรวจช็อตด้วยไฟฟ้า ทุบตีและเตะต่อยอย่างเป็นระบบ ตีด้วยกระบองไม้หรือแท่งเหล็ก จี้ด้วยบุหรี่ ราดน้ำให้ขาดอากาศหายใจ และทำให้ขาดอากาศหายใจด้วยการครอบถุงพลาสติก ซึ่งเกือบทั้งหมดนี้ “เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง”

 

 

"ดังนั้นสิ่งที่น่าสะเทือนใจเกี่ยวกับการใช้วงล้อทรมานก็คือการแสดงให้เห็นว่าตำรวจมีความสุขจากการที่พวกเขาได้กระทำการทรมาน มันแสดงให้เห็นว่าการกระทำอันชั่วร้ายจากการทรมานได้กลายเป็นกิจวัตรที่เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการราวกับว่าพวกเขาอยู่เหนือกฎหมายโดยไม่ได้เกรงกลัวว่าพวกเขาจะถูกดำเนินคดี” เฮเซล กาแลง-โฟลลิ นักวิจัยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

 

 

แม้ประเทศฟิลิปปินส์ได้ให้สัตยาบันสองข้อซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในสนธิสัญญาต่อต้านการทรมานระหว่างประเทศและความได้ปรับปรุงกฎหมายที่มีความก้าวหน้าในด้านการต่อต้านการทรมานไปเมื่อห้าปีที่แล้ว ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทรมานผู้ต้องขังคนใดได้ขึ้นศาลและชดใช้สิ่งที่พวกเขาทำ จนถึงวันนี้ยังไม่มีผู้ที่ทำการทรมานคนใดเลยที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดตามกฎหมายซึ่งผูกพันธ์ตามที่ประเทศได้ให้สัตยาบันไว้

 

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เชื่อว่าการขาดการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการทุจริตในท้องถิ่นอยู่ภายในกองกำลังตำรวจและการที่มีอัตราการดำเนินคดีต่ำในกรณีของการทรมาน ซึ่งผลลัพธ์นี้ได้ทำให้เหยื่อของการทรมานไม่เหลือกำลังใจที่จะฟ้องร้องคดีจากเหตุที่พวกเขาประสบ

 

 

มีคนไม่กี่คนกล้าที่จะยื่นเรื่องร้องเรียนตำรวจ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าพวกเขาอาจเสี่ยงที่จะถูกแก้แค้น ถูกล่วงละเมิดหรือถูกข่มขู่จากตัวเจ้าหน้าที่เองหรือจากพวกอันธพาลที่ถูกว่าจ้างมา

 

 

บรรดาผู้ที่ร้องทุกข์จะต้องข้ามผ่านจำนวนขั้นตอนทางราชการซึ่งมีเงื่อนไขและวิธีการที่ไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้อง มีข้อร้องเรียนจำนวนน้อยมากที่จะไปถึงระดับการสอบสวนเบื้องต้น ซึ่งส่วนมากจะถูกยกฟ้องเนื่องจากตัวกระบวนการที่บกพร่องนั้น

 

 

หลังจากที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ให้การช่วยเหลือโรเวลิโตจากศูนย์กักกัน เขากล่าวว่าตำรวจพยายามที่จะยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความกับเขา เพื่อที่จะหยุดเขาจากการยื่นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานที่เขาได้รับความเดือดร้อน

 

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจให้โรเวลิโตลงชื่อในเอกสารที่เขาบอกว่าเขาจะถอนการร้องเรียนทรมานยื่นฟ้องโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในนามของเขา เขาตัดสินใจที่จะสู้โดยการร้องเรียนเมื่อเขาได้เรียนรู้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คุมขังเขาได้มอบหมายให้คนมาฆ่าเขา ซึ่งใครคนนั้นอาจเป็นญาติของเขาเอง หรือแม้แต่คนที่บอกเขาเกี่ยวกับแผนการดังกล่าว

 

 

แต่การประณามจากนานาชาติก่อทำให้บรรลุผลสำเร็จ ตามรายงานที่ได้รับการตีพิมพ์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรื่อง “เหนือกฎหมาย:ทรมานโดยตำรวจในฟิลิปปินส์” ในเดือนที่ผ่านมา วุฒิสภาฟิลิปปินส์ทำการสอบสวนตำรวจที่ทำการทรมานในกรณีที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ให้การเป็นพยาน

 

 

ในการไต่สวน ผู้แทนตำรวจแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์กล่าวว่าเขาไม่ทราบถึงการทรมานในกรณีต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในรายงาน และเขาไม่สามารถให้การที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการกระทำใด ๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อยุติการการทรมานได้

 

 

ในด้านการความรับผิดชอบ ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภาต้องตรวจสอบรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และเสนอการรับผิดชอบของพวกเขา พร้อมกับจัดตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังที่ที่การทรมานปรากฎ

 

 

“การขจัดการทรมานในฟิลิปปินส์อาจจะเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่การทรมานเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้” เฮเซล กาลแลง-โฟลลิ, นักวิจัยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว