สนทนากับรุ้ง ปนัสยา  1 ปี ผ่านไป การเขียนเปลี่ยนโลกของเธอไปอย่างไรบ้าง  

21 ธันวาคม 2565

Amnesty International Thailand

วันนี้เมื่อปีที่แล้ว 

รุ้ง ปนัสยา คือคนไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 เคสจากโครงการWrite for Rights 2021 หรือ เขียน เปลี่ยน โลก 2564 โครงการระดับโลกจาก เเอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเเนลที่เชื่อว่าการเขียนจะเปลี่ยนโลกได้ โดยในปีที่ผ่านมาโครงการนี้มีอายุครบ 20 ปี จากจุดเริ่มต้นของคนธรรมดากลุ่มนักกิจกรรมจากประเทศโปร์แลนด์ที่รวมตัวกันในการเขียนจดหมายมาราธอนกว่า 24 ชั่วโมง  

ทั้งเช้าจดค่ำ ผู้คนเหล่านั้นเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ถูกพรากสิทธิ 

 

Screen Shot 2565-12-23 at 12.47.20.png

2
1
ปีต่อมา กิจกรรมนี้ได้กลายมาเป็นแคมเปญสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ออกมาเรียกร้องแก่ผู้คนที่อยู่ในความเสี่ยงจากจดหมาย 2,326 ฉบับในปี 2544 จนถึง 4.5ล้านฉบับทั้งจดหมาย ทวิตเตอร์ และการลงรายชื่อในปีที่ผ่านมา สำหรับรุ้ง ปนัสยา มีผู้ร่วมแสดงพลังในการเขียนให้เธอรวมกันอย่างน้อย 359,491 จำนวน และสำหรับในประเทศไทยในปีที่ผ่านมาเราได้ทั้งหมด 10,313 จำนวน ซึ่งเกิดจากพลังของคนไทยในทั่วทุกภูมิภาคที่ร่วมกันแสดงออกผ่านการเขียนทั้งในโลกออนไลน์และในพื้นที่ออฟไลน์  

ในปีนี้โครงการ Write for Rightsได้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าเราจะไม่ได้มีเคสจากในประเทศไทยเหมือนดังเช่นปีที่ผ่านมา แต่ผู้คนจำนวนจากทั่วโลกยังคงถูกละเมิดสิทธิและไม่ได้รับความเป็นธรรม ในปีนี้เราได้ทำงานรณรงค์ด้วยกันผ่าน 3 กรณีได้แก่  อเล็กซานดรา สโกชิเลนโก หญิงสาวชาวรัสเซียที่ถูกจับกุมจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกจากการที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย อีเรน โรเตลาและมารีอานา เซปูลเวดา หญิงข้ามเพศที่เรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในปารากวัยเเละซีเน็บ เรอดวนย์ หญิงชาวฝรั่งเศสที่ถูกยิงด้วยระเบิดเเก๊สน้ำตาในบ้านของเธอจากความประมาทของตำรวจในการควบคุมการชุมนุมประท้วงจนทำให้เธอถึงแก่ชีวิต 

ถ้อยความของรุ้งต่อจากนี้ คือการกลับมาให้สัมภาษณ์กับเราอีกครั้งหลังจากโครงการได้จบลงไปแล้ว 1 ปี การเขียนได้เปลี่ยนโลกของเธอไปแล้วอย่างไรบ้าง และทำไมคนไทยทุกคนจึงต้องร่วมลงชื่อในโครงการรณรงค์สิทธิมนุษยชนระดับโลกที่มีชื่อว่า Write for Rights  


 

ความรู้สึกแรกของการได้เป็นหนึ่งในโครงการ Write for Rights 2021  

ความรู้สึกแรกคือเราไม่รู้จัก เราไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน แต่รับรู้ว่าเป็นแอมเนสตี้ทำ ตอนนั้นเราอยู่ในคุก พี่ทนายก็ได้มาเล่ารายละเอียดให้ฟัง และถามว่ารุ้งโอเคไหมที่จะมาอยู่ในแคมเปญนี้ด้วย รุ้งก็บอกว่าโอเค ตอนนั้น เรายังนึกภาพไม่ออกว่ามันคืออะไรด้วยซ้ำในตอนแรก 

ตลอดระยะเวลาของการทำโครงการ Write for Rights รุ้งคิดไหมว่าการเขียนจะเปลี่ยนโลกได้จริง ๆ  

เราเชื่ออยู่แล้วว่าการเขียนมันจะเปลี่ยนโลกได้ คือมันเป็นการสื่อสารที่เราคิดว่ามันเข้าถึงคนได้ง่าย  

โครงการ Write for Rightsยิ่งตอกย้ำเราว่ามันเปลี่ยนได้จริงๆ นะ ข้อความแต่ละข้อความที่เขียนกันมา มันไม่ได้อะไรมากมายเลยค่ะ เป็นการเขียนให้กำลังใจ การบอกว่ายังมีคนที่อยู่เคียงข้างเรา ถึงแม้จะไม่อยู่ในประเทศเดียวกัน ไม่รู้จักกัน เป็นคนแปลกหน้าทั่วโลกที่ส่งจดหมาย เขียนข้อความมาให้กำลังใจ และบอกเราว่า เราเชื่อมั่นในตัวคุณ เราเชือว่าคุณต่อสู้ได้ และบอกว่าเราทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราเชื่อว่าอันนั้นคือประโยคที่สร้างความเชือมั่นและกำลงใจให้เราเป็นอย่างมาก จดหมายที่ได้มาอ่านไม่หมดจริแต่ละอันมันเต็มไปด้วย... อืม เราไม่รู้ว่ามันเรียกว่าความรักได้ไหม แต่สำหรับเราสิ่งที่เราได้รับกลับมา ความรู้สึกมันเหมือนกับว่าเราได้รับความรักเข้มาเรื่อยๆ จากจดหมายแต่ละฉบับ 

รุ้งได้อ่านจดหมายตอนที่ได้ออกมาจากคุกแล้ว จำได้ว่าตอนนั้นเป็นช่วงที่มืดมนที่สุดในชีวิตเลย ทุกครั้งที่ออกมาจากคุกจะเป็นช่วงที่รุ้งไม่โอเคที่สุด ไม่พร้อมที่จะเจอใคร หรือทำอะไรทั้งนั้น แต่ได้จดหมายเล่านี้มาและมานั่งอ่าน ซึ่งมนช่วยให้ช่วงเวลาอันมืดมิดมันสว่างขึ้น 

 

พลังของตัวอักษรยังสำคัญอยู่หรือไม่ 

แน่นอน แน่นอนว่ามันสำคัญ ทุกอย่าง เรารู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ครั้ง มันมีตัวหนังสืออยู่ด้วยเสมอ กระทั่งถึงตอนนี้ พวกเราก็ยังยายามที่จะใช้ตัวอักษรไม่ว่าจะเป็นในโลกออนไลน์ ผ่านตัวหนังสือ ผ่นรายงานแถลงการณ์ จดมายต่างๆ เพราเราเชื่อว่ามันเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ผ่านตัวหนังสือ เพราะตัวหนัสือเหล่านี้ผ่านการกรองมาจากสมองและหัวใจ ผ่านการเขียนบนมือและลงมาที่กระดาษ มันไม่ใช่สิ่ที่ฉาฉวย จะเขียนอะไรออกมามันผ่านการคิดการกรองมาทุกอย่างอยู่แล้ว พอมันออกมาเป็นตัวหนังสือเราจึงรู้สึกว่ามันทรงพลัง พอๆ กับการพูดในที่สาธารณะหรืออาจจะยิ่งกว่าด้วยซ้ำ เพราะการพูดสาธารณะมันจะมีส่วนหนึ่งที่ได้ยินกับส่วนหนึ่งทีไม่ได้ยิน แต่พอเป็นตัวหนังสือมันเข้าถึงคนได้มากกว่านั้น 

 

การยืนหยัดเคียงข้าง (Solidarity) เสียงของคนทั่วโลก  

และพลังของการเขียนมีความสำคัญต่อผู้คนที่ถูกละเมิดสิทธิเป็นอย่างมา 

 

ถ้าพูดถึงโครงการ Write for Rightsเสียงจากคนทั่วโลกมันส่งผลอย่างยิ่ง หนึ่งคือเรื่องกำลังใจมันทำให้ช่วงเวลาอันมืดมนนั้นได้สดใสได้บ้าง กับอีกอย่างคือเรื่องของความปลอดภัยของเรา เราไม่แน่ใจว่าทุกคนจะคิดเหมือนเราไหม ตอนนั้นที่เราอยู่ในคุก และเป็นช่งที่โครงการมีกระสขึ้นมาใต่างประเทศ รุ้งไม่คิดว่าตัวเองจะได้ออกจากคุกในเวลาอันสันขนาดนั้น รุ้งเข้าไป 3 รอบ เวลาเพิ่มขึ้นทุกรอบ รุ้งอยู่นานสุดคือเดือนกว่า ซึ่งมันจะยาวขึ้นเรื่อย พอโครงการออกมา มีกระแสในโซเชียลต่างประเทศ เวลาไม่นานรุ้งไดรับการปล่อยตัวออกมา รุ้งคิดว่านี่คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้รุ้งได้ออกมา รุ้งเชื่อได้จริงๆ นะว่ามันไม่ใช่เรื่องอื่นเลย ถ้าแบบมันไม่มีพลังของคนต่างประเทศมาช่วยกันเขียน รุ้งว่ารุ้งก็อยู่อีกนานซึ่งใครจะไปรู้หากไม่มีพลังตรงนี้รุ้งอาจจะต้องอยู่นานเป็นหลายเดือน แต่ตอนนั้นคือ 17 วัน สำหรับเรามันคือปาฏิหาริย์และมันเป็นไปไม่ได้ แต่มันเกิดขึ้นเพราะWrite for Rights 

“การเขียนมันเปลี่ยนได้จริงๆ เขียนไม่ใช่แค่เขียน แต่ทุกข้อความทุกตัวอักษณแต่ะคนเขียนมามันมีพลังและมีความหมายเสมอ ไม่ว่าจะมีความหมายต่อใครหรือพลังที่จะส่งไปให้ใครก็ตาม แต่มันส่งผลจริงๆ” 

 

ยังจดจำจดหมายที่ชอบได้อยู่ไหม  

จำได้ มันจะมีจดหมายฉบับหนึ่งรุ้งจะเหน็บไว้ในกระเป๋าตลอดเลย มันเป็นจดหมานที่เหมือนคนรู้จักเขียนมาให้ แต่เขาไม่รู้จักเรา ฉันรู้นะว่าเธอชอบแมวใช่ไหม เธอเล่นไวโอลินใช่ไหม และตอนนี้เธอกำลังสู้อยู่ กำลังทำอะไรอยู่ใช่ไหม ฉันขอให้เธอเข้มแข็งและยืนหยัดต่อไปนะ ฉันเป็นกำลังใจให้เสมอ แบบ...เราไม่ได้คิดว่าคนแปลกหน้าที่เราไม่เคยเจอกัน จะใส่ใจถึงความชอบส่วนตัวของเรา มันก็เลยกลายเป็นอะไรที่แบบเราได้ความรักจากคนแปลกหน้าจริง ๆนะ เราด้กำลังใจ พลังใจจากคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก สิ่งนี้จึงเป็นพลังความมหัศจรรย์ของจดหมายเหล่านี้ 


Write for Rights 2022  

เมื่อการละเมิดสิทธิยังคงเกิดขึ้น การเขียนจึงไม่อาจรั้งรอได้อีกต่อไป  

 

อยากจะเชิญชวนทุกคนเข้ามา มันเป็นโครงการและมันเป็นการเขียนที่มีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่ในตัวมัน ถึงแม้ปีนี้จะไม่มีเคสในเมืองไทยเข้าไป แต่ทุกๆ ที่ ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยนอยู่ เราก็จเป็นที่จะต้องช่วยทุกคน ถึงเราจะไม่รู้จักกัน แต่ในเมื่อสิทธิของพวกเขายังถูกละเมิดอยู่ เรารู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนกัน เราถูกละเมิดสิทธิเหมือนกัน เราเข้าใจพวกคุณดีตรงนี้ ถึงเคสของเราจะต่างกัน แต่เราก็อยากจะเป็นกำลังใจให้ และเราก็อยากจะเชิญชวนทุกคนเป็นกำลังใจให้พวกเขาเหมือนกัน คนที่ถูกละเมิดสิทธิ คนที่ถูกทำร้ายโดยรัฐ อยากให้ช่วยพวกเขา เราเป็นเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน และเราก็อยู่บนโลกเดียวกัน  

กำลังใจจากคนแปลกหน้า บางทีมันอาจจะมีพลังมากกว่าคนข้างๆ เราเป็นอย่งมากก็ได้ และในที่สุดแล้วมันเป็นพลังที่ส่งกลับไปถึงผู้มีอำนาจที่กำลังกดขี่คนเหล่านั้นว่า มันมีคนสนับสนุนคนเหล่านี้อยู่นะ คุณกล้าทำอะไรเขาไหม ถ้าคุณจะทำอะไรเขา ยังมีพวกเราที่เขียนจดหมายไปถึงพวกเขาและจับตาดูอยู่เสมอว่าคนเหล่านี้ ตอนนี้สถาการณ์เป็นอย่างไรบ้าง และอำนาจที่กดขี่อยู่นั้นยังกดขี่อยู่หรือเปล่า มันไม่ใช่ว่าเราส่งจดหมายไปแล้วก็จบ แต่เราก็ยังคอยดูอยู่เสมอ คอยทักถามว่าเคสแต่ละเคสเป็นอย่างไรบ้าง ทุกคนมีความเป็นห่วง ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้จักกัน แต่เราก็ยังมีความเป็นห่วงทุกๆ คนอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราเลยคิดว่าเรื่องสิทธิมันเป็นเรื่องสากลและทุกคนน่าจะเข้าใจว่า ทำไมเราต้องปกป้องผู้คนที่ถูกละเมิดสิทธิ 

อยากจะขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมโครงการ Write for Rights โครงการนี้มีพลังและมีความหมายมากสำหรับคนที่ถูกละเมิดสิทธิอยู่ทั่วโลก มันเป็นการเขียนจดหมายที่เราจะส่งไปให้เขาทั้งกำลังใจ ความเข้มแข็ง แะการตอกย้ำให้เขาฟังว่า สิ่งที่คุณทำอยู่นั้น สิ่งที่คุณกำลังต่ออยู่อยู่นั้น มันเป็นเรื่องที่ถูกอยู่แล้ว พวกเราทุกคนทั่วโลกจะร่วมให้กำลังใจ และมันก็เป็นสิ่งที่รุ้งได้รับเมื่อปีที่แล้วจากโครงการWrite for Rights เช่นกัน 

พลังจากปากปลายปากกาคนธรรมดาก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้! 

ร่วมลงชื่อเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ที่: https://www.aith.or.th/