When Spring Comes: ปรากฏการณ์แห่งความหวัง เมียนมาที่ต้องรู้จัก

10 พฤศจิกายน 2565

Amnesty International Thailand

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมาแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยได้เปิดพื้นที่ทางออนไลน์ร่วมพูดคุยประเด็นสถานการณ์เมียนมายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาวงสนทนาดังกล่าวได้นำเราไปรู้จักกับเพื่อนชาวเมียนมาตินซาชุนเลยี(Thinzar Shunlei Yi) นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิของผู้หญิงชาวเมียนมาเพื่อนชาวไทย เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักกิจกรรมชาวไทยและผู้สนใจสายธารของประวัติศาสตร์ ทั้งสองคนต่างเป็นนักกิจกรรมที่พยายามขับเคลื่อนในประเด็นของประชาธิปไตยและประเด็นสิทธิมนุษยชนชาวพันธมิตร      ชานม จีโน โลเปซ (Gino Lopez) นักกิจกรรมผู้ประสานงานกับพันธมิตรชานมชาวฟิลิปปินส์ผู้จัดกิจกรรมยืนหยัดเคียงข้างชาวเมียนมาในฟิลิปปินส์การรวมตัวกันของเหล่าชาวทวิตเตอร์ในออนไลน์จากการตั้งแฮชแท็กเพื่อสนับสนุนศิลปินที่ตนรักจนนำไปสู่การขับเคลื่อนในประเด็นต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสรีภาพ ในการแสดงออกสิทธิเรื่องความเท่าเทียมทางเพศโดยผ่านการทำกิจกรรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์โดยพื้นที่ออนไลน์นี้ยังคงทำงานขับเคลื่อนกันต่อและไม่ได้จบที่แฮชแท็ก (Hashtag)

นอกจากนี้เรายังได้พูดคุยกับ สิทธิพร เนตรนิยม นักปฏิบัติการวิจัยประจำศูนย์ภารตะศึกษาสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ที่จะมาให้ภาพรวมของสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเมียนมาหลังรัฐประหาร และดำเนินรายการโดย ฐิติรัตน์ทิพย์สัมฤทธิ์กุลประธานคณะกรรมการแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยและอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“When Spring Comes: ปรากฏการณ์แห่งความหวัง เป็นปรากฏการณ์ที่จะไม่อุบัติขึ้นเพียงแค่ในช่วงเวลาใดหรือณจุดใดจุดหนึ่งแต่ปรากฏการณ์แห่งความหวังนี้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยวงเสวนาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ 1.สถานการณ์ในเมียนมาในปัจจุบันประวัติศาสตร์ฉบับย่อของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเมียนมาเเละทัศนคติ-การเเสดงออกของประชาชนไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่จะเป็นการแสดงพลังยืนหยัดอยู่เคียงข้างเพื่อนชาวเมียนมาที่กำลังประสบกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร     2. ที่มาเเละความสำคัญของพันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) การรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่จากในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นไต้หวันไทยเมียนมาฮ่องกงฯลฯเพื่อเรียกร้องในพื้นที่ออนไลน์ที่การต่อสู้นั้นไม่ได้จบลงแค่ที่การตั้งแฮชแท็กซึ่งประเด็นคำถามต่างๆเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในวงสนทนาที่เต็มไปด้วยพลังของความหวัง

 

#WhatsHappeningInMyanmar : เกิดอะไรขึ้นบ้างในเมียนมา

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาแฮชแท็กดังกล่าวได้ปรากฏตัวขึ้นอย่างเป็นทางการหลังจากที่คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจในประเทศเมียนมาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ของชาวเมียนมาอีกครั้งภาพของชาวเมียนมาในหลากหลายพื้นที่ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพหรือสถานะใดก็รวมพลังออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่เผด็จการทหารภาพของการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาเเละประชาชนในครั้งนี้ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นแต่ในสายธารทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของชาวเมียนมาย้อนกลับไปตั้งแต่ 20 กว่าปีที่ผ่านมาหลังรัฐประหารของนายพลเนวินได้ยึดอำนาจของรัฐบาลอูนุที่มาจากการเลือกตั้งและล้มล้างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่นำไปสู่การลุกฮือของประชาชนครั้งใหญ่ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาพระสงฆ์นักศึกษาเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่าการลุกฮือ 8888 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2531 (ค.ศ. 1988)   แต่รัฐบาลเผด็จการทหารก็ได้ปราบปรามผู้ชุมนุมบริสุทธิ์อย่างเลือดเย็นเพราะฉะนั้นในวงสนทนานี้เราจะได้เห็นภาพและมุมมองจากผู้เสวนาที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเเละนักกิจกรรมที่จะได้มาฉายภาพและความรู้สึกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่าเราจะไปในทิศทางไหนและอาเซียน (ASEAN) ยังมีกลไกและประสิทธิภาพในการเเก้วิกฤตที่เกิดขึ้นในเมียนมาได้อยู่หรือไม่ 

 

เมียนมาก่อนและหลังการเกิดรัฐประหารในปี 2021 

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยและเมียนมา บางความทรงจำที่บิดเบือนโดยรัฐและกลไกของอาเซียน

สิทธิพร เนตรนิยมกล่าวถึงความท้าทายทางการเมืองของเมียนมาก่อนและหลังรัฐประหารโดยแบ่งเป็นช่วงปี 2012 ก่อนที่จะมีการเปิดประเทศและรับกลิ่นไอของประชาธิปไตย 

“ปัญหาจากการกุมอำนาจของกองทัพนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมและอาวุธที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1962 ที่นายพลเนวินเข้ามายึดอำนาจเป็นศักราชเริ่มต้นของการกุมอำนาจของกองทัพปัจจุบันเศรษฐกิจในพม่าสินค้าต่างๆเป็นของรัฐบาลทั้งหมดปัญหาก่อน 2012 มีทั้งการกดขี่และการปราบกลุ่มการเมืองและชาติพันธุ์จากรัฐประชาชาติให้กลายเป็น State Nation ที่รัฐเป็นผู้มีอำนาจนำโดยใช้อำนาจในการดึงคนเข้ามามีการใช้ศาสนาและอำนาจนิยมซึ่งได้เกิดเป็นปัญหาขึ้นอันเกี่ยวโยงกับนโยบายชาติพันธุ์และศาสนานิยมที่ได้กลายมาเป็นตัวกำหนดหรือแบ่งความเป็นอื่นเช่นในบัตรประชาชนจะระบุว่าพ่อกับแม่ชื่ออะไรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อะไรเซึ่งการกำหนดความเป็นชาติพันธุ์และความเป็นอื่นรวมถึงเรื่องศาสนาจึงเป็นการทำให้รอยร้าวของความแตกต่างนั้นขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

“ตั้งแต่เหตุการณ์ในปี1988 เกิดความรุนแรงทางการเมืองผู้ลี้ภัยทางการเมืองและเศรษฐกิจต่างเข้ามาในประเทศไทยปัญญาชนและกลุ่มต่อต้านเผด็จการพม่าต่างแตกกระจายและหนีเข้ามาในประเทศไทยหรือประเทศใกล้เคียงส่งผลให้เกียรติภูมิของชาวเมียนมาต่อสายตาของประเทศเพื่อนบ้านเสียหายมีการถูกผลักดันออกมาเป็นแรงงานราคาถูกและไม่มีตัวตนนอกจากนี้ยังไม่สามารถร้องเรียนที่ไหนได้แม้แต่สถานทูตของพม่าเองซึ่งก็ถือว่าคนพวกนี้หนีออกมาเองอาจกล่าวได้ว่าในไทยก็ไม่มีตัวตนในเมียนมาก็กลับไปไม่ได้และยังรวมถึงประเด็นความไม่สงบบริเวณชายแดนและปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นนอกจากนี้กลุ่มชาติพันธุ์พม่าก็จะรู้สึกมีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติพันธุ์ของตนเองและแยกตัวเองออกมาเรื่องของเชื้อชาตินิยมกลายเป็นประเด็นที่เห็นอย่างเด่นชัดคนที่อยู่ในเขตมัณฑะเลย์มะกเวซึ่งฐานวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าแท้ๆซึ่งก็จะรักในสถาบันทหารเป็นกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าเมียนมาไม่ได้แปลว่าทุกเผ่า        

เมื่อปี 2012 ครั้งที่อองซานซูจีได้เข้ากลับมาเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลพม่าเป็นช่วงที่มีการเปิดประเทศในรอบหลายสิบปีปัญหาที่เรากล่าวไว้นั้นก็ไม่ได้หมดไปกองทัพยังคงกุมอำนาจและนโยบายเรื่องศาสนาก็ยังคงมีอยู่แต่การขยายตัวของเสรีนิยมและเทคโนโลยีในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้กลายมาเป็นทั้งคุณและโทษของการดำรงอยู่ของพม่าในปัจจุบันปัญหาเรื่องแรงงานข้ามชาติดูจะมีเกียรติและมีตัวตนมากขึ้นในสายตาคนไทยมีบริษัทนำทัวร์ไปเที่ยวพม่าเกิดขึ้นเกิดความเคลื่อนไหวในอินเตอร์เน็ตอย่างเช่นในกลุ่มเฟซบุ๊ก  “สู่รู้เรื่องพม่ามีคนไทยเขียนถึงชาวเมียนมาว่า “หัวใจของฉันตกอยู่ที่พม่าคนพม่าน่ารัก” แต่เมื่อก่อนคนไทยคือมีภาพจำมาตลอดว่าพระเจ้าบุเรงนองฆ่าคนไทย เวลามีคนมาคอมเมนต์ว่าคนเมียนมา ก็จะมีคนไทยเข้ามาถกเถียงแทนเกิดความเสมอภาคและมีความเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านไม่ใช่การดูถูกเหมือนแต่ก่อนในช่วงนั้นมีคนไทยเข้าไปทำธุรกิจที่เมียนมาและประสบความสำเร็จมากมาย

“นอกจากนี้การขยายตัวของเสรีนิยมและเทคโนโลยีได้เกิดการแบ่งสรรผลประโยชน์ในเมียนมาและประเทศที่มีอำนาจเหนือภูมิภาคกลุ่มการเมืองท้องถิ่นประเทศเพื่อนบ้านและประเทศมหาอำนาจระดับโลกขั้วอำนาจใหม่เก่าเกิดขึ้นมีการต่อต้านเกิดขึ้นมากมายหลังจากรัฐประหารในปี 2021  มีการท้าทายอำนาจเก่าทหารได้พยายามกดอำนาจของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งนี่ก็จะเป็นภาพกว้างของก่อน/หลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีความรุนแรงทางวัฒนธรรมและอาวุธเกิดขึ้นอย่างนับไม่ถ้วน 

“หากถามถึงกลไกของอาเซียนเมื่อมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องเราจำเป็นต้องถอดรื้อผลประโยชน์ในพม่าเบื้องหน้าเบื้องหลังโครงสร้างของการจับมือร่วมกันของผลประโยชน์ในแต่ละกลุ่มซึ่งอาจจะทำให้เราเข้าใจในความซับซ้อนของอำนาจนั้นมากขึ้นได้” 

 

เพราะพวกเราไม่เคยยอมแพ้ 

ความรู้สึกประสบการณ์ของการทำงานเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหารโดยตินซา ชุนเล ยี

ตินซา ชุนเล ยี นักกิจกรรมชาวเมียนมาที่ตอนนี้มีบทบาทในกลุ่ม Action Committee for Democracy Development (ACDD) และ Sisters 2 Sisters ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในการต่อต้านเผด็จการเมียนมาได้ชี้ว่าการพูดคุยเพื่อแสดงการสนับสนุนและมีความจำเป็นมากในช่วงที่ยากลำบากของชาวเมียนมาในช่วงนี้ 

“ดิฉันอยากจะแบ่งปันสถานการณ์ภาพรวมในปัจจุบันโดยเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองและยุทธศาสตร์ที่เราใช้ในการตอบโต้ของความพยายามในการทำรัฐประหารในเมียนมาโดยเราทำงานเป็นผู้ประสานงานการรณรงค์กลุ่ม ACDD ส่วนใหญ่แล้วสมาชิกของเราเกือบ 99 เปอร์เซ็นต์อยู่ในเมียนมาและหลบซ่อนโดยเรามีการจัดตั้งในระดับชุมชนทำงานกับชุมชนอย่างใกล้ชิดเพื่อฟังว่าเขาต้องการอะไรสร้างความเข้มแข็งประชาธิปไตยที่มาจากรากหญ้าเพื่อเป็นความหวังในการต่อต้านการปกครองของทหารของกองทัพ 

“สำหรับการยึดอำนาจของกองทัพในปี 2021 เราเรียกว่าการพยายามทำรัฐประหารเพราะว่าแผนยังไม่สำเร็จเสียทีเดียวและตอนนี้ล้มเหลวด้วยซ้ำเพราะเขาไม่สามารถปกครองประเทศตามที่เขาต้องการมีการต่อต้านทั้งในประเทศและต่างประเทศและเราได้รับการสนับสนุนมากมายเช่นทุกคนที่เข้ามาร่วมงานวงพูดคุยในวันนี้ดังนั้นการรัฐประหารจึงไม่อาจเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จเรามีการจัดขบวนการและมีความคิดริเริ่มกิจกรรมต่างๆร่วมกับนักกิจกรรมผู้หญิงเพื่อสร้างกิจกรรมสมานฉันท์และให้ผู้หญิงได้มีบทบาทชัดเจนและมากขึ้นเพราะเมียนมาเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่มีอำนาจชายเป็นใหญ่ทั้งนี้เรารับประกันว่าเสียงของผู้หญิงมีความสำคัญและทุกคนจะต้องตระหนักถึงปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ

กองทัพเป็นสถาบันที่ต้องถูกยุบลงไปเนื่องจากกองทัพมีการใช้ความรุนแรงกับพลเมืองโดยกองทัพส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นคนอายุน้อยและสนับสนุนกองทัพเราจึงได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักรู้สร้างพลังของการต่อต้านจากในสถาบันกองทัพมีองค์กรที่ตั้งขึ้นมาชื่อว่า People’s Soldiers ที่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารกว่าหมื่นคนย้ายมาอยู่เคียงข้างกับประชาชน 

“ในประเทศอินเดียประเทศที่เป็นประชาธิปไตยขนาดใหญ่และมีพรมแดนติดกับเราแต่รัฐบาลอินเดียก็ไม่ได้มีท่าทีในการสนับสนุนขบวนการประชิปไตยในเมียนมาแต่สนับสนุนรัฐบาลทหารมากกว่าดังนั้นเราจึงมีการกิจกรรมจากกลุ่ม India for Myanmar (India4Myanmar) ขึ้นเพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันส่งเสริมสนับสนุนและบอกเล่าสถานการณ์ในพม่าให้แก่ชาวอินเดียถึงเเม้เราอาจจะไม่สามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลอินเดียที่สนับสนุนรัฐประหารได้แต่เราสามารถทำงานกับคนไทยลาวเเละอินเดียที่สนับสนุนประชาธิปไตยได้ใน 10 ปีที่ผ่านมาการปฏิรูปด้านประชาธิปไตยเป็นเรื่องปลอมและไม่จริงใน 10 ปีที่ผ่านมาเราไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านประชาธิปไตยหลังจากมีรัฐธรรมนูญปี 2018  เราชื่อว่ารัฐประหารเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้นเราจึงมีการปฏิเสธแผนดังกล่าวเราไม่ต้องการเลือกประชาธิปไตยแบบปลอมๆแต่เราต้องการมีชาติที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเราเลยปฏิเสธรัฐธรรมนูญและอาชญากรรมที่กองทัพพม่าได้สร้างขึ้น

“อาชญากรรมต่างๆเหล่านี้ปรากฏขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจนเช่นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาการโจมตีประชาชนในรูปแบบต่างๆทั้งทางอากาศในโรงเรียนที่ทำให้มีคนเสียชีวิตถึง 9 คนการโจมตีด้วยการจุดไฟ    การเผาการใช้โล่มนุษย์การจับกุมโดยพลการต่างๆการซ้อมทรมานการใช้ปืนอาวุธสร้างความหวาดกลัว      แต่แผนนี้ล้มเหลวรัฐบาลทหารใช้การยิงเผาประชาชนและการฆ่าคนที่ถูกจับกุมซึ่งฉันมีเพื่อนที่เสียชีวิตจากกระบวนการนี้ด้วยเช่นกัน

 

เสียงของผู้หญิงชาวเมียนมา
หนึ่งในพลังอันสำคัญของการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร

“ การปฏิรูปในครั้งนี้ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้นำมีการนำโสร่งมาทำเป็นธงเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหว (การปฏิวัติโสร่ง) โดยเราเชื่อว่าประชาชนเป็นคนส่วนใหญ่เรามีคนเป็นล้านคนแม้กองทัพจะก่ออาชญากรรมโจมตีทางอากาศหรือใช้อาวุธแต่เขาไม่สามารถชนะหรือสามารถฆ่าทุกคนได้เพราะเราเป็นคนส่วนใหญ่เราควรจัดตั้งกลุ่มและนำโดยผู้หญิงรุ่นใหม่

มีจดหมายที่เขียนถึงฉันเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา (ตุลาคม 2565) เธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศและเป็นแกนนำของการชุมนุมเธอได้บอกว่าฉันพยายามเอาชีวิตรอดในเรือนจำ กรุณาต่อสู้จนกว่าฉันจะถูกปล่อย” สำหรับตัวฉันสิ่งนี้เป็นจิตวิญญาณของผู้หญิงชาวเมียนมา

“นอกจากนี้เรามีกิจกรรมทางออนไลน์เนื่องจากปัจจุบันในเมืองย่างกุ้งมีการตัดไฟฟ้าใช้มือถือไม่ได้มีการกดขี่มากมายเพื่อไม่ให้เราสามารถใช้อุปกรณ์สื่อสารบนโลกดิจิทัลได้เราจึงพยายามมาใช้เครื่องมือสื่อสารอย่างเเอปพลิเคชั่นเทเลแกรม (Telegram)  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมามากกว่า 20 เดือนแล้วเราเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้นมีการปฏิวัติทั้งการเมืองสังคมและวัฒนธรรมเราพูดถึงสิทธิต่าง ๆ รวมถึงสิทธิของคนรุ่นใหม่ สิทธิของผู้หญิงและสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) เราใช้วิธีการต่อต้านที่มีความคิดสร้างสรรค์มากมายความเปลี่ยนแปลงกำลังจะมาถึงและเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

เรามียุทธการด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อได้แก่ 1. เราต้องตัดสายท่อน้ำเลี้ยงรณรงค์ให้เกิดการออกมาตราการลงโทษ (Sanction) เพื่อตัดแหล่งรายได้ของกองทัพ 2. บอยคอต (Boycott) ธุรกิจขนาดใหญ่และบริษัทที่ทำงานกับกองทัพโดยตรงเพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงในเรื่องของการส่งอาวุธกระสุนเชื้อเพลิงเครื่องบินรบต่างๆให้กับรัฐบาลเมียนมา 3. ตัดความชอบธรรมการที่เขามีอำนาจไม่ได้แปลว่าเขาเป็นรัฐบาลของเราทำลายความชอบธรรมของพวกเขาอาเซียนและชาติต่างๆต้องไม่ยอมรับว่านี่คือรัฐบาลเมียนมา 4. ยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดหากกองทัพก่ออาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้โดยที่ไม่ต้องรับโทษเขาก็จะทำต่อไปเราจึงจำเป็นต้องยุติวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด”

ความท้าทายของประชาชนเมียนมาที่ต้องเจอในประเทศไทย

“ประชาชนถูกไล่ล่าโดยคนของกองทัพหากถูกจับกุมคุมขังเราไม่สามารถส่งเสียงแกนนำของเราถูกจับกุมแต่เราหนีออกมาได้และตอนที่เราข้ามชายแดนเราไม่มีเอกสารต่างๆปัญหาหลักคือความปลอดภัยและภัยคุกคามความเสี่ยงของการถูกจับส่งกลับไปในประเทศส่งผลต่อสุขภาพจิตของพวกเราที่ค่อนข้างแย่พวกเรารู้สึกผิดที่หนีออกมาหรือรู้สึกผิดที่เรายังมีชีวิตรอดในขณะที่คนหลายคนจากไปและความตึงเครียดของแต่ละชุมชนการปะทะทางวัฒนธรรมแม้เราจะรู้จักกันเพราะเรามาอยู่ร่วมกันแต่ก็มีความแตกต่างทางวิถีมีการเลือกปฏิบัติต่อคนเมียนมาต่อคนโยกย้ายถิ่นฐานเมื่อเกิดความรุนแรงต่อผู้หญิงและความรุนแรงในครอบครัวหลายครั้งเราไม่รู้ว่าจะไปรายงานต่อใครซึ่งเราไม่สามารถไปแจ้งตำรวจได้เพราะเราเป็นคนผิดกฎหมาย และอาจจะต้องถูกส่งกลับและปัญหาเรื่องเอกสารของผู้ลี้ภัยแม้คนที่มีการยื่นเอกสารเพื่อขอสถานะลี้ภัยก็ตามเราอาจจะไม่สามารถบินออกจากสนามบินได้เพราะเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตเคยมีการส่งกลับผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงด้วยคนพม่าเมื่อมีการหนีความขัดแย้งในเมียนมาไปยังประเทศไทยก็จะถูกส่งกลับหรือผลักกลับไปชายแดนฝั่งของตนเองสร้างความกังวลในการปฏิวัติของเราและเป็นความท้าทายที่เราต้องเผชิญแต่เราก็อยากจะขอขอบคุณทุกคนในพลังที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันคนไทยและองค์กรในประเทศไทยที่ทำงานสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นเหตุผลที่ดิฉันจะมีชีวิตอยู่ในที่ที่ดิฉันอยู่ได้” 

 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเผด็จการไทยและเมียนมา 

ประชาชนชาวไทยควรไปต่ออย่างไร?

“เพนกวิน” พริษฐ์ชิวารักษ์กล่าวว่าเผด็จการของไทยเเละเมียนมามีรูปเเบบการใช้อำนาจหลังจากการรัฐประหารที่ใกล้เคียงกัน 

“เผด็จการเขาคือเพื่อนกันยิ่งเป็นรัฐบาลโซนอาเซียนที่มีจุดยืนคล้ายๆกัน  ไม่ได้มีคุณค่าเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่เหมือนรัฐบาลทางโลกตะวันตกในกรณีของอาเซียนไทยเเละเมียนมามีการสนับสนุนกันเป็นพิเศษลักษณะของเผด็จการในโลกนี้มีหลายรูปแบบเผด็จการพม่าคือเผด็จการทหารเต็มรูปแบบกัมพูชาเป็นตัวบุคคลลาวเป็นพรรคเดียวและไทยเป็นแบบผสมเพราะว่าเป็นเผด็จการที่ทหารมีบทบาทเยอะทั้งไทยและพม่าดูจะเข้าขากันมากเป็นพิเศษเป็นเผด็จการที่ทหารมีบทบาทเยอะแต่พม่ามีบทบาทมากกว่าไทย 

“สายสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างผู้นำเมียนมาและผู้นำไทยมีมาตั้งแต่อดีตรัฐประหาร 10-20 ปีที่ผ่านมาทั้งของไทยและเมียนมาจะเริ่มคล้ายๆกันคือมีการยึดอำนาจและผ่อนคลายอำนาจให้มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจได้บ้างและก็ยึดอำนาจอีกรอบนักวิเคราะห์หลายท่านก็ได้มองว่าพม่าเอารูปแบบนี้มาจากเมืองไทยหรือเปล่ารัฐธรรมนูญที่ยกเลิกคือฉบับที่ทหารเขียนและเขียนเรื่องกลไกของการยึดอำนาจแต่มีเรื่องของอำนาจของประชาชนที่สามารถจะจัดการกับกลไกนี้ได้พล็อตของการเมืองไทยเช่นรัฐประหารปี 2549 สร้างรัฐธรรมนูญเพื่อควบคุมฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มีอำนาจแต่ปรากฏว่าเขามีอำนาจเพราะเขาชนะการเลือกตั้งและได้ทำการยึดอำนาจอีกครั้งในปี 2557 

ขณะที่ผู้ลี้ภัยถูกคุกคามที่สนามบินสุวรรณภูมิหรือรัฐบาลทหารเมียนมายิงขีปนาวุธมาประชาชนต้องคุยกันว่าเราจะเข้มแข็งอย่างไรบ้าง เราก็ต้องเป็นเพื่อนกัน”  

 

เส้นทางของพันธมิตรชานมความสำคัญและพลังของการยืนหยัดเคียงข้าง

Fun Fact: พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) เกิดจาก บรรดา #ชาวเน็ต ในโลกออนไลน์ ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากซีรีส์วายของประเทศไทยนำมาสู่การติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์
 

ถึงจะเริ่มมาจากโลกอินเตอร์เน็ตแต่พันธมิตรชานมไม่ได้จบแต่เพียงเท่านั้นกลุ่มคนเหล่านี้ได้รวมตัวกันอย่างหลวมๆที่นำไปสู่การขับเคลื่อนในประเด็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนต่างๆของหลากหลายประเทศทั้งฮ่องกงไต้หวันอินเดียและเมียนมาและอื่นๆอีกมากมายและที่สำคัญคือกิจกรรมแสดงพลังยืนหยัดเคียงข้าง (Solidarity) ที่ทางพันธมิตรฯ ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในหลายประเด็นของการขับเคลื่อนในเอเชียรวมไปถึงสถานการณ์ในเมียนมาด้วย จีโน่ นักกิจกรรมชาวฟิลิปปินส์ หนึ่งในพันธมิตรชานม ได้มาเล่าให้เล่าฟังถึงการทำงานและจุดกำเนิดของพันธมิตรชานมและการร่วมกันแสดงออกในประเด็นของเมียนมาเป็นอย่างไรบ้าง 

 

พันธมิตรชานมการรวมกลุ่มของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้จบลงเพียงแฮชแท็ก 

จีโน่เริ่มเล่าว่า "พันธมิตรชานม" เป็นสิ่งที่เยาวชนไทยและเมียนมาน่าจะคุ้นเคยกันดีกลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นมาครอบคลุมพันธมิตรจากหลากหลายประเทศที่รวมถึงไต้หวันฮ่องกงอินเดียเมียนมาไทยก่อนที่จะมีการตั้งการรวมกลุ่มนี้        องค์กรต่างๆที่มีความคิดริเริ่มที่อยากจะสร้างความสนับสนุนเช่นเเอมเนสตี้  ก็มีความพยายามที่จะพัฒนาความเป็นเอกภาพความร่วมมือของประชาชนอาเซียนในขณะที่อาเซียนเป็นเหมือนชมรมของเผด็จการ 

“แต่จุดเริ่มต้นของพันธมิตรชานมนั้นไม่ได้เริ่มจากพรรคการเมืองแต่เราเริ่มจากซีรีส์วายอย่างเพราะเราคู่กันหรือ 2gether: The Series ที่ได้เกิดการทะเลาะกันทางอินเทอร์เน็ตระหว่างชาวเน็ตที่สนับสนุนนโยบายจีนเดียว (One China) และชาวเน็ตของฮ่องกงไทยไต้หวัน   ที่ได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างชาวเน็ตจีนไทยและไต้หวัน  อันเป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกันไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลจีนหลังจากนั้นจึงมีประชาชนจากฮ่องกงและไต้หวันรวมถึงนักกิจกรรมอย่าง “โจชัวหว่อง” และขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง  ร่วมทวีตข้อความีจะสนับสนุนชาวไทยและนักแสดงดงจากซีรีย์ดังกล่าว  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นลุกลามเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองหลังจากที่สถานทูตจีนประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์ว่าจีนยืนยันการยึดนโนบาย“หลักการจีนเดียว” การต่อสู้ในครั้งนี้จึงเป็นทั้งการต่อสู้ทางออนไลน์และเป็นการปะทะกันทางการเมือง 

ในช่วงต้นนักกิจกรรมฮ่องกงและไต้หวันใช้กระแสตรงนี้ที่เกิดจากแฟนคลับซีรีส์์ทำให้คนในฮ่องกงไทยฟิลิปปินส์เมียนมาสิงคโปร์อินโดนีเซียมาเลเซียอินเดียและผู้ลี้ภัยในหลายประเทศทั่วโลกทวีตข้อความเพื่อให้การสนับสนุน 3 ประเทศหลักอย่างฮ่องกงไต้หวันเเละไทยมีสิ่งที่ชอบดื่มเหมือนกันคือ ชานมจึงถูกเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญของกระบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในทั่วประเทศไทยและขยายไปยังทิเบตและทั่วโลกประเทศอื่นๆในอาเซียน 

“ตอนที่เกิดรัฐประหารในปี2021 นักกิจกรรมหรือพลเมืองชาวเมียนมาได้ใช้แพลตฟอร์มทางออนไลน์เพื่อสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาแล้วมันก็ประสบความสำเร็จหลายคนที่ไม่รู้จักกลุ่มพันธมิตรมาก่อนก็เริ่มมีความตระหนักตอนแรกเราคิดว่าตัวกระแสของพันธมิตรชานมจะสิ้นสุดลงแต่ก็ไม่กลับมีการขยายตัวมากขึ้นจริงๆคือเราไม่มีผู้นำเรามีผู้นำที่ไม่ว่าจะเป็นชุนเลธีรวัฒน์หรือคนอื่นๆแต่ขบวนการของเราเป็นขบวนการที่ไร้ผู้นำและใช้พื้นที่ทางอินเตอร์เน็ตหรือทางออนไลน์หรือใครก็ได้สามารถเป็นสมาชิกของขบวนการพันธมิตรชานมคุณค่าเรื่องของสิทธิมนุษยชนปกป้องประชาชนมันไม่จบพันธมิตรชานม 

เราสนับสนุนเสรีภาพในการหลายประเทศตัวอย่างของการแลกเปลี่ยนภายใต้ร่มพันธมิตรชานมคือการแลกเปลี่ยนการต่อสู้การชุมนุมประท้วงการเรียนรู้การต่อสู้จากกันและกันซึ่งเป็นสิ่งที่จะเป็นการทำลายความคิดของนักวิชาการบางคนที่มองว่าตัวขบวนการฟรีทิเบต (Free Tibet)  หรือฟรีฮ่องกง (Free Hong Kong) จะไม่มีทางมาจุดกระแสในประเทศไทยได้  ในฮ่องกงมีการสลายการชุมนุมการปราบปรามนักกิจกรรมขณะเดียวกันในฮ่องกงก็มีการแสดงออกแสดงถึงพลังในเหตุการณ์เมียนมาและไทยไต้หวันมีชุมชนของชาวไทยเมียนมาและฮ่องกงอยู่ในประเทศจำนวนมากมีการรวมตัวกันหลายรอบในกรุงไทเปสร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์ของประเทศนั้นๆสิ่งที่เกิดขึ้นในอาเซียนเราเห็นถึงความฝันร่วมกันในการมีประชาธิปไตยและมีสิทธิมนุษยชนเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าอาเซียนสปริงเช่นเดียวกับอาหรับสปริงทางเมียนมาประกอบด้วยภาคส่วนหลายฝ่ายทั้งภาคประชาชนต่างๆมีการใช้แฮชแท็กพันธมิตรชานมใช้ช่องทางของพันธมิตรชานมในการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันร่วมกับขบวนการอื่นๆเช่นแสดงพลังยืนหยัดเตียงข้างต่อขบวนการของชาวปาเลสไตน์โคลอมเบียเบราลุส เราสามารถที่จะมองข้ามผลประโยชน์ของประเทศเราและเริ่มให้การสนับสนุนกับประเทศอื่น  ซึ่งอันนี้เราถือว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จของพันธมิตรชานม

 

การสนับสนุนเมียนมาในฐานะพันธมิตรชานม

“สำหรับในฐานะชาวฟิลิปปินส์เรามีการทำ Arts for Myanmar คือการใช้ศิลปะเพื่อสนับสนุนเมียนมาสนับสนุนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงการล็อบบี้หรือออกแถลงการณ์ในฟิลิปปินส์เราพยายามเชื่อมโยงองค์กรต่างๆในพื้นที่ที่แยกส่วนกันให้กลับมารวมกันพันธมิตรชานมไม่ได้มีองค์กรที่เป็นองค์กรนำแต่เป็นพื้นที่ในการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในอินโดนีเซียมีกิจกรรมปั่นจักรยานในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนอกจากนั้นเราก็เห็นนักกิจกรรมพม่าในอเมริกาทำกิจกรรมเช่น #freepalestine เป็นต้นโดยเราจะมีความเข้มแข็งมากขึ้นถ้าเราทำงานร่วมกันพันธมิตรชานมเราไม่ใช่แค่แฮชแท็กแต่คือชุมชนที่เราร่วมสร้างกันขึ้นมาและการที่เยาวชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเมียนมาฮ่องกงไต้หวันหรือไทยก็เป็นผลมาจากพันธมิตรชานมก่อนที่จะมีพันธมิตรชานมนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บอกว่าการระดมพลทางการเมืองใหญ่ๆจะเกิดขึ้นแบบพรรคการเมืองเท่านั้นเช่นกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มคนเสื้อเหลืองแต่ขณะเดียวกันกลุ่มพันธมิตรคือการรวมตัวกันของประชาชนอย่างแท้จริงแม้ว่าจะมีแฮชแท็กหรือไม่เราก็จะมีการต่อสู้ร่วมกันต่อไป 

 

We are Friends = เพราะเราคือเพื่อนกัน

ในช่วงเวลาของฤดูกาลแห่งความหวังที่บานสะพรั่งไปในทั่วทุกพื้นที่ในเมียนมาบทเพลงหนึ่งที่ใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวหนึ่งในนั้นคือ “เราคือเพื่อนกัน” วงสามัญชนจากในประเทศไทยเนื่องจากขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนเมียนมาในครั้งนี้ได้เกิดขึ้นช่วงเวลาไล่เลี่ยเดียวกันกับขบวนการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยนอกจากสัญลักษณ์การชู 3 นิ้วที่เราจะเห็นว่าถูกใช้ในการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการแล้วบทเพลงเราคือเพื่อนกันที่ได้รับการแปลเป็นเวอร์ชันส์ภาษาเมียนมาและถูกนำมาใช้ขับร้องในการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครั้งนี้ด้วยเช่นกัน 

สิทธิพรชี้ว่าการกดดันด้วยมาตรการต่างๆของประชาคมโลกมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ในเมียนมาหลังจากนี้

“มองว่าอาเซียนจะรวมตัวกันได้ด้วยผลประโยชน์ของภูมิภาคตอนนี้จะถูกสถานการณ์เรื่องโรคระบาดขวาจัดความอ่อนแรงของมหาอำนาจทางซีกเสรีนิยมทำให้แรงขับเคลื่อนที่จะผลักดันให้อาเซียนแทรกแซงเชิงสร้างสรรค์บางประเทศยังเริ่มที่จะมีบทบาทบ้างอินโดนีเซียในที่สุดก็จะต้องคุยกับประเทศที่มีอำนาจมากหรือสิงคโปร์แรงในการผลักดันเคลื่อนไหวเพื่อให้ผู้นำพม่าควรจะลดลงมาหลังจากสถานการณ์โควิดคิดว่าการจัดลำดับของแต่ละประเทศหรือขั้วอำนาจน่าจะมีการจัดลำดับกันอีกครั้งหนึ่งและทำให้เห็นว่าพลังของโลกมีผลต่อพม่า”

 

ความคาดหวังจากภาคประชาสังคมในไทยหรือในอาเซียน 

ตินซา ชุนเล ยี กล่าวว่า พวกเราขอโทษต่อชาวโรฮิงญาตอนนี้เราได้ทราบแล้วว่ากองทัพมีความน่ารังเกียจอย่างไรบ้าง ตอนนี้ชาวเมียนมาหลายคนเขาได้ตาสว่างและขอโทษกับสิ่งที่พวกเขาได้ละเลยไปสิ่งที่เผด็จการเมียนมาปฏิบัติกับพวกเขานั้นมันเป็นประสบการณ์และความรู้สึกที่เจ็บปวดชาวเมียนมาหลายคนตอนนี้อยู่ในประเทศไทยแม้แต่การการเช่าที่พักอาศัยจำเป็นต้องมีคนไทยในการรับประกันหรือถูกจับกุมก็ต้องมีคนไทยมาประกันถ้าเรามีแนวคิดเรื่อง Solidarity เวลามีโอกาสเราจะช่วยเหลือและให้การสนับสนุนร่วมกันได้

“เเอคชั่นหนึ่งที่เราสามารถทำได้เพราะความเสี่ยงต่ำคือการจัดตั้งการเคลื่อนไหว #Thailand4Myanmar ให้เป็นแคมเปญรณรงค์ที่เราทำขึ้นกับชาวไทยโดยเฉพาะดังเช่นที่อินเดียเคยทำเราคิดว่าชาวไทยสามารถยืนหยัดเคียงข้างพวกเราได้ผ่านการแปลข่าวหรือบทความเป็นภาษาไทยแชร์ให้ชาวไทยดารานักแสดงมาช่วยพูดเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศเมียนมาเราสามารถแชร์รูปภาพโพสต์ลงไปในโซเชียลมีเดียเพื่อเป็นการสร้างการสนับสนุนการกดดันต่อรัฐสภาไทยเพื่อให้รัฐไทยยุติการดำเนินการที่เป็นอันตรายต่อชาวพม่าในไทยเราจึงอยากรณรงค์ให้คนไทยแสดงจุดยืนร่วมกับพวกเราเพื่อไม่ให้สิ่งที่รัฐบาลเผด็จการเมียนมาที่ทำกับชาวเมียนมานั้นเงียบหายไป 

 

ทำไมคนไทยต้องร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวในเมียนมา

พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักกิจกรรมชาวไทยได้พูดถึงการขยับการพัฒนาประชาธิปไตยในหลายประเทศที่หากเริ่มจากประเทศหนึ่งจะสร้างคลื่นความเคลื่อนไหวไปสู่ประเทศอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในหลายประเทศเวลาเกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นรายประเทศแต่เป็นรายภูมิภาคเช่นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของยุโรปตะวันออกหลังสงครามเย็นและในเอเชียบ้านเราเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้ประเทศอื่นทั้งทางบวกและทางลบกัมพูชาใช้กฏหมายมาตรา 112 ตามไทยถ้าพี่น้องเราในเมียนมามีประชาธิปไตยตอนนี้สถานการณ์การต่อสู้น่าลุ้นและน่าให้กำลังใจถ้าพี่น้องในเมียนมามีประชาธิปไตยไทยเราก็น่าจะมีประชาธิปไตยสูงขึ้นอัตลักษณ์คือเราชูสามนิ้วไปด้วยกันประชาชนเราต้องเป็นเพื่อนกันให้ได้เหมือนเผด็จการเราจะได้ชนะเหมือนเขา”

 

พันธมิตรชานมจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป?

จีโน โลเปซ กล่าวว่า “ปัจจุบันผมทำงานวิจัยที่กรุงไทเปต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทำให้พันธมิตรชานมดำเนินต่อไปเรามี MTM Museum ปฎิทินของเราที่มีการรวบรวมกิจกรรมของการส่งเสริมกิจกรรมในเรื่องของการแสดงออกต่างๆ  ในขณะที่ฮ่องกงเมียนมาไทยมีความคิดริเริ่มจากกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่  ส่วนอาเซียนนั้นเราจำเป็นต้องมีแกนนำที่มีศักยภาพในการสร้างความคิดของเราเองเรามีความฝันร่วมกันเป็นเหมือนกระแสคลื่นที่จุดประกายการต่อสู้บนถนนหรือในพื้นที่ได้ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียมและเชื่อมโยงกัน”

ระยะเวลาการพูดคุยร่วมสองชั่วโมงที่ผ่านมานั้นได้เผยให้เห็นสถานการณ์ของประเทศเมียนมาที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ในช่วงของการเปิดประเทศในปี 20212 จนมาถึงการรัฐประหารในปี 2021 ความเจ็บปวดความโหดร้ายการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าภาพของประชาชนคนรุ่นใหม่ในเมียนมาที่ต่างอกมาแสดงพลังของการไม่สยบยอมต่ออำนาจของกระบอกปืนและรถถังของทหารแม้ว่าจะถูกปราบปรามอย่างหนักก็ตามแต่พวกเขาก็ยังคงต่อสู้ทุกวิถีทางไม่ว่าจะเป็นการออกมาชุมนุมประท้วงทางออฟไลน์การทำแคมเปญในกิจกรรมทางออนไลน์และเสรีภาพในการแสดงออกดังกล่าวก็นำมาสู่การถูกคุกคามถูกจับถูกทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่นั่นไม่อาจหยุดพลังของพวกเขาได้ 

นอกจากนี้ได้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุใดพลังของทุกคนจึงมีความสำคัญพลังจากประชาชนคนธรรมดาที่จะยืนหยัดเคียงข้างกับเพื่อนของเราชาวเมียนมาสิ่งที่เพื่อนของเราอยากเห็นนั้นไม่ได้ยากไปกว่าการยืนหยัดอยู่เคียงข้างพวกเขาเหมือนที่ชุนเลได้กล่าวไว้ในช่วงของการสนทนาช่วงหนึ่งว่า “แค่พวกคุณเข้ามาร่วมฟังในงานเสวนาครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการยืนหยัดอยู่เคียงข้างพวกเราแล้ว” 

โดยทั้งนี้แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยร่วมกับเพนกวินพริษฐ์ชีวารักออกแคมเปญข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหาแนวทาง หยุดการนองเลือดในเมียนมา ในช่วงการประชุมเอเปกที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 และประเทศไทยเป็นเจ้าภาพพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวไทยทุกคนจะร่วมกันส่งเสียงผ่านการลงชื่อในแคมเปญดังกล่าวและร่วมกันแสดงพลังผ่านการติดแฮชแท็กถ่ายรูป #StandWithMyanmar #WhatsHappeninginMyanmar #APEC2022 ได้ด้วยเช่นกัน

เสียงใดเอยจะมีความหมายเท่ากับเสียงของพวกเราทุกคน

 

ร่วมลงชื่อใน Petition:  https://chng.it/xHg597xNc7