มัจฉา พรอินทร์: สิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในขบวนการต่อสู้ของภาคประชาชนในสังคมไทย  

10 มิถุนายน 2565

Amnesty International

มัจฉา พรอินทร์ หรือเจี๊ยบ คือนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เริ่มทำงานในสายองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ตั้งแต่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย  

หลังจากเรียนจบ มัจฉาได้ทำงานเป็นเอ็นจีโอเต็มตัวตั้งแต่ปี 2548 โดยโครงการแรกที่ทำ คือ โครงการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองเด็กผู้หญิงที่อยู่ในระบบโรงเรียนและไร้สัญชาติ  

ตลอดเวลาเกือบ20 ปี ในการทำงานบนเส้นทางสายงานพัฒนา มัจฉาไม่เคยละความพยายามในการนำเสนอประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมาโดยตลอด มัจฉาต้องพบเจอกับอคติในเรื่องเพศซึ่งไม่ใด้เกิดจากคนในสายงานเดียวกันเพียงอย่างเดียว หลายครั้งความรู้สึกไม่สบายใจก็เกิดจากกลุ่มคนที่ตนต้องไปทำงานด้วย  

เพราะเหตุนี้ มัจฉาจึงเชื่อว่าเครื่องมือหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คนเข้าใจและมีความตระหนักรู้ในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญระยะเวลาจากจุดเริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน วันนี้เราจึงขอชวนคุณมาร่วมฟังมุมมองของมัจฉาต่อประเด็นเรื่องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมร่วมค้นหาคำตอบไปด้วยกัน ว่าเรื่องราวเหล่านี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างในบริบทสังคมเมืองไทยปัจจุบันที่ประเด็นเรื่องเพศถูกพูดถึงและได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้น 

 

 

Q: ประสบการณ์แรกๆ ที่เข้าาทำงานในสายองค์กรพัฒนาเอกชน ต้องพบเจอกับอะไรบ้างกับการที่รามีเพศกำหนดเป็นผู้หญิง และนิยามตัวเองว่าเป็นเลสเบี้ยน และประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศและเรื่องผู้หญิง เป็นอย่างไรบ้างเมื่อ 20 ปีที่แล้ว  

A: พูดถึงเมื่อ 20 ปีที่แล้ว หลายครั้งในการทำงานในแวดวงขององค์กรพัฒนาเอกชน(NGO) ระบบชายเป็นใหญ่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการทำงานภาคประชาสังคม อย่างสมมติถ้าเราจะทำเรื่องเด็ก บางครั้งเราไม่สามารถจะทำประเด็นเรื่องเด็กผู้หญิงควบคู่ไปได้ เพราะว่าความเข้าใจเรื่องเพศ(Gender)สมัยก่อนน้อยมาก องค์กรทุนต่างๆ ไมได้บังคับให้มีมุมมองเรื่องเพศ หรือนโยบายเรื่องการคุกคามหรือการละเมิดทางเพศ(Sexual Harassment) ซึ่งนี่คือบรรยากาศของเมื่อ 20 ปีที่แล้ว  

 

อย่างเราเองเริ่มทำงานในสายNGO ตอนอายุยังน้อย ประกอบกับเราเป็นคนลาวอีสาน เป็น เลสเบี้ยนอีก พอมาทำงานประเด็นเรื่องเด็กเร่ร่อนที่สพานข้ามแดนแม่สาย แม้ว่าเราจะมีสถานะ มีประสบการณ์ แต่ด้วยมิติทางเพศ หลายครั้งเราก็ถูกคุกคามหรือถูกละเมิดหลายครั้งเกิดจากคำพูดที่ทำให้เราไม่สบายใจ การพูดถึงรูปร่างหน้าตา ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากผู้ร่วมงานเท่านั้น แต่เกิดจากกลุ่มเป้าหมายที่เราได้ลงไปทำงานด้วย  

 

สำหรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในแวดวงของการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนผู้หญิงที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนเช่น เป็นผู้หญิง อายุน้อย และมีความหลากหลายทางเพศ เมื่อไปอยู่ท่ามกลางการทำงานแบบวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ความพยายามที่จะต่อสู้ ส่งเสียง มักจะไม่ถูกได้ยิน มันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย ที่มีอายุมากกว่าและมีรสนิยมทางเพศแบบรักต่างเพศเวลาที่ราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศในการทำงาน ทำให้เรามีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างออกไป  

 

อย่างเรามาทำงานเรื่องการศึกษา จะเห็นว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาจะเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนกว่าผู้ชายถ้าหลุดออกจากระบบการศึกษา และยังต้องเจอกับการถูกบังคับแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ที่นำมาสู่การเผชิญกับปัญหาเรื่องสุขภาพและความยากจนซ้ำซ้อน และเสี่ยงที่จะถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว 

ถ้าเรามีมุมมองเรื่องของทางเพศ
เราก็จะให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้หญิง ที่ช่วยป้องกันปัญหาได้หลายอัน แต่การให้การศึกษากับผู้หญิงอย่างเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงจะปลอดภัย กระบวนการที่จะช่วยเสริมให้ผู้หญิงรู้สึกว่าเป็นเจ้าของชีวิตตัวอง เลือกทางเลืของชีวิตตัวเองได้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่ไม่ได้ปลอดภัยจากสังคมรอบๆ ตัว ทั้งจากครอบครัว หรือในโรงเรียน  

 

เพราะฉะนั้นเวลาที่ราทำงานเราจให้ควาสำคัญ กับการอบรมในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ ทำให้คนที่อยู่ในสังคมเข้าใจและเคารพความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งมันก็จะแตกต่างออกไปเมื่อเราบูรณาการเรื่องเพศ เรื่องของสิทธิมนุษยชนไปด้วยกันในการเสริมสร้างกลุ่มคนชายขอหรือกลุ่มเปราะบางที่เราทำงานด้วย 

 

 

Q: ปัจจุบันมุมมองในเรื่องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ สิทธิผู้หญิง มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนอย่างไรบ้างสถานการณ์การถูกละเมิดสิทธิลดลงหรือไม่ 

A: เราตั้งคำถามเรื่องนี้บ่อยนะ กับสิ่งที่เราเผชิญอยู่ อย่างเช่นสิทธิความหลากหลายทางเพศ สิทธิู้หญิง ความยากน ความรุนแรเรื่องสิทธิที่รัฐทำกับประชาชนนั้น มันน้อยลงหรือว่าจริงๆ แล้ว รูปบบมันแตกต่างไปจากเมื่อก่อน เราได้คำตอบคร่าวว่ามันไม่ได้ลน้อยลงเลย แต่การรับรู้ของเรเปิดกว้างขึ้นจากหลายช่องทาง       เราเชื่อว่ากลุ่มเปราะบางถูกละเมิดจากทั้งครอบครัวและรัฐมาโดยตลอดในสังคมไทย พราะจริงๆ แล้ว เราไม่เคยมีกลไกที่มันปกป้องคุ้มครองกลุ่มเปราะบางเลย เพราเราไม่มีกฏหมายที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ  

 

พอรูปแบบที่มันแตกต่างออกไป บวกกับความรุนแรทางสังคมผ่านสื่อออนไลนรวมไปถึงปัจจัยทางสังคมอื่นๆเช่น เรื่องโลกร้อน การไม่เป็นประชาธิปไตย สถานการณ์โควิด สิ่งเหล่านี้เป็นบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ไปส่งเสริมให้ความรุนแรงนั้นมีความซับซ้อนขึ้น ความรุนแรงอันมีรากฐานมาจากเพศสภาวะ ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศนั้นมันไม่เคยถูกทำให้เป็นเชิงนโยบาย หรือระบบโครงสร้างในวิธีคิดของสังคมไทย วัดได้จากระบบการศึกษา ที่เรื่องพศสภาพ เพศภาวะ เพศวถีมันไม่อยู่ในความเข้าใจพื้นฐานเลย การไม่ละเมิดทางเพศ ไม่เหยียดเพศ หรือเรื่องชาติพันธุ์ มันไม่ได้อยู่ในความรู้ที่สังคมส่งเสริม หรือทำใหเกิดความเข้าใจ เรื่องของสิทธิมนุษยชนมันยังไม่ใช่รากฐานของสังคม  

 

เราคิดว่าสถานการณ์การรับรู้เรื่องสิทธิในประเด็นนี้ไม่ได้ดีขึ้น แต่คนรับรู้มากขึ้น ผ่านสื่อต่างๆ หลายปีที่แล้วเวลาคนชายขอบถูกละเมิดเรื่องก็เงียบไป หรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่า หรือในยเครน เราติดตามข่าวได้จากช่องข่าวทั่วไป แต่ทุกวันนี้ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นนักข่าวพลเมืองได้ สามารถนำเสนอข่าวด้วยตัวเองได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว ในพืนที่ที่ทุกคนถือมือพร้อมแชร์ บางอันก็เป็นการไปเสริมเรื่องอาชากรรมที่ทำให้เกิดความเกลียดชัง(Hate Crime)ถ้ามันเป็นในเรื่องของความอคติเรื่องของการรณรงค์ใหเกิดความเข้าใจ พื้นที่ตรงนี้ถูกได้รับความสนใจน้อย แต่พื้นที่แห่งความเกลียดชังกลับได้รับความสนใจมากกว่า ผลกระทบรุนแงทั้งร่างกายและจิตใจ ปัญหาเรื่องสภาพจิตใจก็ยิ่งซับซ้อนขึ้น ความรุนแรงถูกส่งเสริมให้มีมากขึ้น  

 

แม้จะมีกลสิทธิมนุษยชนต่างเพิ่มขึ แต่การถูกละเมิดสิทธิก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เช่นกัน ซึ่งเราพยายามทำกฏหมายเรื่องการเลือกปฏิบัติ คนจำนวนหนึ่งมีความรู้และความสามารถเข้าถึงสถานการณ์มากขึ้น แต่สังคมไม่ได้พัฒนระบบความเป็นธรรมไปพร้อม ๆ กัน เหมือนสวนทางกัน เพราคนรุ่นใหม่เรีกร้องเพรามีข้อมูล คนที่อยู่ในโครงสร้างก็ไม่ได้พัฒนาความคิดไปพร้อมกับความก้าวหน้าของแนวคิดของคนรุ่นใหม่  

 

สังคมให้ความสำคัญกับประเด็นที่ไม่มีสาระในเรื่องของอคติ มายาคติในเรื่องทางเพศเป็นส่วนใหญ่นำเสนอข่าวผลิตซ้ำ แทนที่เราจะนำเสนอข่าวให้ความรู้ในสังคม แต่เป็นข่าวตีตรา สร้างความเกลียดชังมากขึ้น            ถ้าคนส่วนใหญ่รับรู้เรื่องชุดข้อมูลที่ถูกต้องช่วยให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และมีความเชื่อที่ถูกต้อง            เช่นเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่ากัน เชื่อว่าเราต้องเคารพกัน มันก็สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เรื่องของข้อมูลหรือความเชื่อ เราพบว่าเราอยู่กับข้อมูลที่บิดเบือน (Disinformation)ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่จงใจสร้างความแตกแยก หรือเพื่อมีผลประโยชน์ทางการเมือง หรือคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจ ข้อมูลแบบนี้เตมไปหมด และง่ายมากที่คนจะเชื่อเพราะออกมาจากกลุ่มคนที่อำนาจในสังคม ความเชื่อที่มีอยู่แล้ว เช่น ความเชื่อที่ว่าหญิงชายไม่เท่ากัน หรือการเป็น LGBTQIA+เป็นเรื่องผิดปกติ  

 

พอสองอย่างนี้ทำงานร่วมกัน มันก็ง่ายที่จะสร้างความเกลียดชัง และเวลามีผลกระทบที่เกิดขึ้น คนเปราะบางก็ได้รับผลกระทบหนัก เช่น เวลาที่ผู้หญิงคนหนึ่งลุกขึนมาต่อสู้เรื่องการถูกล่วงละเมิดทางเพศก็อาจจะถูกคนในครอบครัวไม่ยอมรับ มองว่าผู้หญิงไปทำอะไรมา แม้มิติของการต่อสู้ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนไม่ว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งคุณก็คือนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  

 

หรือในสถาบันการศึกษาก็ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีนโยบายเรื่องการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกละเมิด บางครั้งผู้ละเมิดยัลอยตัวไม่ต้องมาพิสูจน์ แต่คนที่ถูกละเมิดกลับต้องมาเป็นคนพิสูจน์เสียเองว่าถูกกระทำมาอย่างไรจึงเหมือนการถูกล่วงละเมิดซ้ำระบบความเปนธรรมไม่มีอยู่จริงสำหรับคนชายขอมันอาจจะมีอยู่จริง แต่มันมีไว้สำหรับใครก็ไม่รู้ ซึ่งเราไม่ได้รับความคุ้มครองตรงนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราเป็นนักต่อสู้ในเรื่องอะไรก็ตาม แต่เราเป็นผู้หญิหรือ LGBTQIA+เรายังไม่ได้สู้เลย แต่ก็ถูกเลือกปฏิบัติเช่นกัน พอเราจะไปสู้ในเรื่องอื่นๆ ก็ถูกกีดกันจากระบบการเคลื่อนไหวที่ไม่ยอมรับ เช่น เรื่องประชาธิปไตยที่ไม่มีมุมมองเรืองเพศ ที่ไม่ยอมเอาประเด็นเรื่องเพศไปด้วย เราในฐานะนักเคลื่อนไหวก็อาจจะถูกเพื่อนลุ่มประชาธิปไตยล่วงเกินหรือถูกเหยียดเพศก็ได้ หรือถูกไม่รับฟังก็ได้ ซึ่งมันก็เกิดขึ้นจริงในขบวนการ ความเป็นธรรมทางเพศไม่ถูกเข้าถึงจากนักเคลื่อนไหวที่เป็นผู้หญิงหรือคนในชุมชนกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ  

 

 

Q: ขบวนการเคลื่อนไหวในกลุ่มใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากคนรุ่นใหม่และมีความเป็นภูมิาคมากขึ้น เกิดขึ้นมาได้ยังไงและความสำคัญคืออะไร 

A: มันเกิดจากความรุนแรงทางเพศที่ไม่ได้หายไปและเยอะขึ้น และเขาได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น เขาไปโรงเรียนครูไปตัดผมเขา ครูไปบังคับเขาแต่งกาย ทำร้ายมิติทางพศของเขา เพราะฉะนั้นทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงลุกขึ้นมาต่อสู้ เพราเขาเป็นเจ้าของปัญหา เรื่องภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เยาวชนเห็นว่าถ้าไม่เปลี่ยนเขาจะไม่มีอนาคต พวกเราไม่สนใจแล้วก็ได้ แต่เขาต้องสนใจเพราะมันคือชีวิตของเขา บริบทมันรุนแรงมากขึ้น ทรัพยากรน้อยลง  ความไม่เป็นธรรมในทุกระบอบและโครงสร้างของสังคม คนที่เปราะบางได้รับผลกระทบก่อนและได้รับความรุนแรงมากกว่า

ทำไมต้องเป็นเฟมินิสต์ ในการขับเคลื่ทางประวัติาสตร์เราพบความก้าวหน้าในทุกมิติ แต่มิติทางเพศเป็นขบวนการเคลื่อนไหวเดียวที่อนุญาตให้เราพูดถึงความเป็นธรรมที่มีมิติทางเพศเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้นในขบวนการเคลื่อนไหวในประชาธิปไตยรุ่นใหม่ ผู้หญิงมีบทบาทมากยิ่งขึ้นเราจะไปพูดทุกเรื่องยกเว้นเรื่องตัวเองก็เป็นไปไม่ได้ และ LGBTQIA+ได้รับผลกระทบมากถ้าไม่มีกฏหมาย แต่ถ้าเราอยากเปลี่นกฏหมายก็ต้องเข้าร่วมขบวนการประชาธิปไตย ซึ่ง LGBTQIA+จะต้องต่อสู้ทั้งทางด้านกฏหมายไปพร้อม ๆ กับเรื่องการไม่ถูกเลือกปฏิบัติทั้งในครอบครัวชุมชน พวกเราต้องออกมายืนด้านหน้ามากขึ้น ปีก่อนคำว่าเฟมินิสต์ถูกค้นหามากขึ้นในโลกออนไลน์ ณ ตอนนี้เกิดแนวคิดในเรื่องเฟมินิสต์ที่มีหลากหลายมากขึ้น เพราะสังคมมีความหลากหลาย ซับซ้อนแนวคิดใหม่ ๆ จะคำนึงถึงบรบท และเจ้าของปัญหา เพราะการแก้ไขปัญหาต้องมาจากตัวเขา แนวคิดเฟมินิสต์มันเป็นที่นิยมมากขึ้นแต่ก็สู้กระอักเลือดมากเช่นกัน เพราะกลุ่มต่อต้านเฟมินิสต์ก็หนักข้อมากยิ่งขึ้นในทุกที่  

 

Q: ปัจจุบันสถานการณ์การถูกละเมิดสิทธิยังคงเกิดขึ้นไปทั่วโลกกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ต่อสู้ในเรื่องความหลากหลายทางเพศทางออกและิศทางของการขับเคลื่อนต่อไปควรเป็นอย่างไร  

A: การต่อสู้นับจากนี้จะต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย เพราะสังคมโดยทั่วไปไม่ปลอดภัย การเป็นนักสิทธิมนุษยชนนั้นต้องเผชิญกับรูปแบบความไม่ปลอดภัยมากกว่าคนทั่วไป โดยเราต้องปกป้องตัวเองด้วยและต้องปกป้องคนที่ถูกกระทำด้วยบางครั้งเราไม่มีเครื่องมือที่เพียงพอ เรามีปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่บอกว่านักปกป้องสิทธิ เมื่อถูกคุกคามรัฐต้องทำการคุ้มครอง แต่เราก็ไม่เห็นมีกลไกอะไรจริง ๆ ที่จะช่วยปกป้องเราได้ 

 

การขับเคลื่อนต้องพูดกันให้เห็นเป็นเรื่องรูปธรรม ความไม่ปลอดภัยของนักปกป้องสิทธิ ต้องการเรียกร้องให้เกิดความปลอดภัยในทุกระดับ เพราะถ้านักปกป้องสิทธิไม่ปลอดภัย คนที่ถูกะเมิดสิทธิก็จะเยอะขึ้น ต่อมาพอมีกลไกคุ้มครองใดใดก็ตาม มันจะได้ผลก็ต่อเมื่อมันเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างได้ วิธีคิดที่อยู่ใสังคมมันต้องถูกเปลี่ยนไปด้วย การเคารพกัน ความแตกต่างทางเพศ ต้องไม่สร้างคามเกลียดชัง ถ้เราจะรื้อถอนสังคมที่ไม่เป็นธรรม เราต้องไปรื้อถอนที่วิธีคิดในสังคมในเรื่องของทางเพศ วิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่กลายเป็นวัฒนธรรมในการทำงานองรัฐและหลายองค์กร มันต้องเปลี่ยนแปลงที่รากฐานวิธีคิด ถึงจะเป็นสังคมที่เกิดความเข้าใจและเกิดความเคารพกัน  

 

สำหรับเรา เอ็นจีโอคืออาชีพที่เราภาคภูมิใจ เราคิดว่าเราต้องมานั่งตีความหมายกันใหม่ ขบวนการเคลื่อนไหวต้องมาให้นิยายกันใหม่ เยาวชนต้องอยู่ข้างหน้า ความเป็นจริงเขามีพลัง เด็กเขาต้องการอนาคตตัวเอง เราต้องช่วยเขาว่าเขาขาดตรงไหน เราก็สนับสนุนหน้าที่ของเราในเชิงยุทธศาสตร์ในการปกป้องคุ้มครองเขาเราก็ต้องทำขบวนการที่ต้องเคลื่อนไปข้าหน้าควรคงไว้เรื่องความหลากหลายทั้งเรื่อง เพศ อายุ ศานา ชาติพันธุ์ การนุญาติให้ทุกเรื่องมันไปด้วยกันได้มันทำได้ แต่ทุกคนมักจะบอกว่าต้องทำทีละขั้นตอน หรือเลือกประเด็นซึ่งเราเชื่อว่ามันไม่จริง เราเชื่อเรื่องคนเท่ากัน ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ดังนั้นเราต้องมีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ต้องสะท้อนสิ่งเหล่านี้ด้วย 

 

 

สิทธิความเท่าเทียมทางเพศ เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับและเท่าเทียมกัน ไม่ควรมีการแบ่งแยกและอคติที่เกิดจากความแตกต่างในเรื่องเพศ

สำหรับแอมเนสตี้เรามุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับการแบ่งแยกกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก โดยให้คำแนะนำต่อรัฐบาลและผู้นำทรงอิทธิพลเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายและปกป้องสิทธิของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขา