ถ้อยแถลงฉบับที่ 6: การพิจารณารายงาน UPR: ประเทศไทย

23 มีนาคม 2565

Amnesty International

ถ้อยแถลงฉบับที่ 6: การพิจารณารายงาน UPR: ประเทศไทย 

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 

สมัยประชุมที่ 49  

28 กุมภาพันธ์– 1 เมษายน 2565  

รับชมวิดิโอ: https://youtu.be/HluqMfNeKpM 

 

ท่านประธานที่เคารพ 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนยินดีกับความสนับสนุนของประเทศไทยต่อข้อเสนอแนะที่218-2781เราขอเรียกร้องให้มีการดำเนินงานโดยทันทีและอย่างเป็นผล  

ประเทศไทยได้จำกัดอย่างเกินขอบเขตและอย่างไม่เหมาะสมต่อการใช้สิทธิมนุษยชนหลายประการอย่างสงบ และได้พยายามเพิ่มข้อจำกัดต่าง ๆ ผ่านการออกกฎหมายใหม่ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลยังได้จัดทำและกำลังจะรับรองร่างกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไร เอ็นจีโอหลายแห่ง รวมทั้งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนได้แสดงความกังวลอย่างร้ายแรงต่อร่างกฎหมายนี้ เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการทำลายเสรีภาพในการสมาคม และการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน   

แม้เรายินดีที่รัฐแห่งนี้ได้ยอมรับข้อเสนอแนะบางประการเกี่ยวกับสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสมาคม2การชุมนุมอย่างสงบ3และการแสดงออก4เราผิดหวังที่รัฐแห่งนี้เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตต่อข้อเสนอแนะอื่น ๆ5รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับเด็ก6การแสดงความเห็นต่างอย่างสงบเป็นสิ่งที่ยังถูกลงโทษในประเทศไทย บุคคลต่าง ๆ รวมทั้งเด็ก ได้ถูกจับกุมเนื่องจากเข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบ หรือแสดงความเห็นในการอภิปรายด้านการเมือง หลายคนถูกดำเนินคดีในข้อหาต่าง ๆ รวมทั้งมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และได้ถูกควบคุมตัวโดยพลการ   

 

ท่านประธานที่เคารพ, 

เรายินดีที่ประเทศไทยยอมรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับให้สูญหาย และยินดีที่ได้เห็นหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำร่างกฎหมายเพื่อห้ามการละเมิดเหล่านี้ เรากระตุ้นอย่างยิ่งให้รัฐบาลไทยประกาศใช้กฎหมายเหล่านี้โดยมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย และให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย (ICPPED) และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (OPCAT) 

เรายินดีกับพันธกิจของประเทศไทยที่จะยกเลิกโทษประหาร แต่เสียใจที่ประเทศไทยได้ตั้งข้อสังเกตกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการอย่างเป็นรูปธรรม7เพื่อให้การยกเลิกเกิดขึ้นจริง ประเทศไทยยังไม่ยอมรับข้อเสนอแนะที่จะให้สัตยาบันรับรองกฎบัตรระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ8ผู้ลี้ภัย9 ทั้งยังไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลสากล10     

เรากระตุ้นหน่วยงานต่าง ๆ ให้แสดงความเป็นผู้นำ และส่งเสริมโอกาสทั้งปวงเพื่อประกันการดำเนินงานตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เรายังกระตุ้นประเทศไทยให้เสนอรายงานขั้นกลางให้กับคณะมนตรี เพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้าต่อการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ และการใช้โอกาสการอภิปรายทั่วไปในหัวข้อที่หก เพื่อให้เกิดความสนใจต่อประเด็นนี้  

 

ขอขอบคุณ  

 


 

ทั้งนี้ กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบที่ 3 ของประเทศไทยได้จัดขึ้นในวันที่ 23-24 มีนาคม 2565 ที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติณกรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์รัฐบาลไทยได้รับข้อเสนอแนะ 194 ข้อจากทั้งหมด 278 ข้อเสนอแนะในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 และต่อมาตอบรับเพิ่มเติมอีก 24 ข้อส่งผลให้ประเทศไทยตอบรับข้อเสนอแนะทั้งสิ้น 218 ข้อจาก 278 ข้อเสนอแนะ 

ประเทศไทยไม่ยอมรับข้อเสนอทั้งหมด  12 ข้อที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศรวมทั้งข้อเสนอที่เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีกว่าเด็กและเยาวชนด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  อีกด้วย 

ประเด็นกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ไทยตอบรับข้อเสนอแนะทั้งสิ้น 9 ข้อโดยรัฐบาลไทยจะแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมโดยข้อเสนอที่ไม่ได้รับการยอมรับมีเพียงข้อเดียวคือข้อเสนอแนะที่เรียกร้องให้ยกเลิกร่างกฎหมายดังกล่าว 

ประเด็นโทษประหารชีวิตรัฐบาลไทยได้ยอมรับ 2 ข้อเสนอแนะโดยตอบรับพิจารณาการให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับฉบับที่ 2 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งมีจุดประสงค์ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต (Second Optional Protocol to the ICCPR) และรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนเรื่องโทษประหารชีวิต 

ประเด็นความหลากหลายทางเพศรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอแนะ 4 ข้อซึ่งรวมถึงการแก้ไขกฎหมายสมรสเท่าเทียมโดยรัฐบาลไทยชี้แจงว่าเนื่องด้วยกฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงและช่วงเวลาอาจไม่สามารถสำเร็จได้ในกระบวนการทบทวนสภานการณ์สิทธิมนุษยชนครั้งถัดไปในปี 2569 

ประเทศไทยยังไม่ยอมรับข้อเสนอแนะที่จะให้สัตยาบันรับรองกฎบัตรระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยส่งเสริมการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติผู้ลี้ภัยทั้งยังไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลสากล 

อย่างไรก็ตามประเทศไทยยอมรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับให้สูญหายหลายข้อรวมทั้งสมัครใจดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการกระทำอื่นๆที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้บุคคลหายสาบสูญ