Photo: Thai News Pix 

ปฏิบัติการด่วน: แอมเนสตี้ชวนผู้สนับสนุนทั่วโลกลงชื่อกรณีผู้ชุมนุม 31 คนถูกดำเนินคดี #FreePeopleTH

 
 
 

ทางการไทยออกหมายจับแกนนำและนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย 15 คน จากบทบาทในการจัดการชุมนุมที่กรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ส่วนผู้ชุมนุมอีก 16 คนได้รับหมายเรียกและถูกแจ้งข้อหาจากเหตุการณ์เดียวกัน ทั้ง 31 คนถูกดำเนินคดีในข้อหาร้ายแรงรวมทั้งยุยงปลุกปั่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหากำกวม มักถูกรัฐบาลใช้เพื่อปิดปากผู้วิพากษ์วิจารณ์ หากศาลตัดสินว่ามีความผิด นักกิจกรรมแต่ละคนอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเจ็ดปี การจับกุมผู้ชุมนุมอย่างสงบที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นถึงการปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ที่เข้มข้นขึ้น

 

ข้อเรียกร้อง

 

  • ยกเลิกข้อหาต่อผู้ชุมนุมทั้ง 31 คนและบุคคลอื่น ๆ โดยทันที พวกเขาถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ
  • ยุติความพยายามหรือการดำเนินงานใด ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อขัดขวางการเข้าร่วมของสาธารณะในการชุมนุมอย่างสงบ หรือการปิดปากเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและการแสดงความเห็นในประเด็นทางสังคม
  • แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีเนื้อหากำกวมหรือคลุมเครือ เพื่อให้กฎหมายเหล่านี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับพันธกิจของประเทศที่จะเคารพ คุ้มครอง และปฏิบัติให้เป็นผลซึ่งเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ

 

 

ลงชื่อรณรงค์

*ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดที่คุณให้มาจะถูกรวบรวมและใช้สำหรับการรณรงค์นี้เท่านั้นตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ข้อเรียกร้องของเรา

ปฏิบัติการ: โดยเขียนจดหมายในภาษาของท่านเอง หรือใช้ตัวอย่างจดหมายด้านล่าง

 

นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา

สำนักนายกรัฐมนตรี ถนนพิษณุโลก
กรุงเทพฯ 10300 ประเทศไทย
โทรศัพท์: 66 2 618 2323
โทรสาร: 66 2 282 5131
อีเมล์: prforeign@prd.go.th
 
เรียน นายกรัฐมนตรี

ข้าพเจ้ากังวลเป็นอย่างยิ่งในสิ่งที่รัฐบาลของท่านได้ดำเนินคดีกับบุคคลทั้ง 31 คน เพียงเพราะมีส่วนร่วมในการจัดหรือเข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 

ดังที่ท่านอาจทราบว่า ตำรวจได้ออกหมายจับผู้ชุมนุม 15 คนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 โดยมีบางส่วนถูกจับกุมและได้รับการประกันตัวออกมา และเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ได้ทราบว่า มีบุคคลอีกอย่างน้อย 16 คนที่ได้รับหมายเรียกในเวลาต่อมา ผู้ชุมนุมทุกคนต่างถูกดำเนินคดีในข้อหาร้ายแรงรวมทั้งยุยงปลุกปั่น เนื่องจากการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมออกอย่างสงบ ข้าพเจ้าเกรงว่า ข้อหาที่มีขอบเขตและเนื้อหากว้างขวางเช่นนี้ กำลังถูกใช้เพื่อปิดปากผู้วิจารณ์รัฐบาลของท่าน 

โชคร้ายที่ประเทศไทยมีประวัติการจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือมีแรงจูงใจทางการเมืองมายาวนาน และข้าพเจ้าเสียใจต่อการปราบปรามการจัดกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เป็นเรื่องน่าตกใจที่ผู้ชุมนุมอย่างสงบแต่ละคนอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเจ็ดปี หากศาลตัดสินว่ามีความผิด เพียงเพราะใช้สิทธิมนุษยชนของตน 

ตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การเข้าร่วมและการจัดการชุมนุมอย่างสงบ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคน เช่นเดียวกับการมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การใช้สิทธิเหล่านี้โดยตัวของมันเองย่อมไม่อาจถือเป็นความผิดทางอาญา และไม่ควรได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น 

ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่าน

  • ยกเลิกข้อหาต่อผู้ชุมนุมทั้ง 31 คนและบุคคลอื่น ๆ โดยทันที พวกเขาถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ
  • ยุติความพยายามหรือการดำเนินงานใด ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อขัดขวางการเข้าร่วมของสาธารณะในการชุมนุมอย่างสงบ หรือการปิดปากเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและการแสดงความเห็นในประเด็นทางสังคม
  • แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีเนื้อหากำกวมหรือคลุมเครือ เพื่อให้กฎหมายเหล่านี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับพันธกิจของประเทศที่จะเคารพ คุ้มครอง และปฏิบัติให้เป็นผลซึ่งเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ

 

ขอแสดงความนับถือ

ข้อมูลเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 บุคคลต่าง ๆ รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนมาก เข้าร่วมในการชุมนุมอย่างสงบที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย เป็นการชุมนุมที่จัดโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่มีแกนนำเป็นนักศึกษา มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 2,400 คน พวกเขามีข้อเสนอสามข้อต่อรัฐบาล ได้แก่ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุติการคุกคามประชาชน 

นักกิจกรรมแต่ละคนอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเจ็ดปี หากศาลตัดสินว่ามีความผิด ทั้งหมดถูกดำเนินคดีในข้อหายุยงปลุกปั่น ก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน มั่วสุมกันใช้กำลังประทุษร้าย ขัดคําสั่งเจ้าพนักงาน ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ และใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 368, 385, และ 391ตามลำดับ ละเมิดพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะเป็นความผิดตามมาตรา 114 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 19 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง    

15 จาก 31 คนถูกออกหมายจับ โดยจนถึงปัจจุบัน มีการจับกุมนักกิจกรรม 13 จาก 15 คน ซึ่งต่างได้รับการประกันตัวออกไปด้วยวงเงินคนละ 100,000 บาท หรือมีการใช้ตำแหน่งนักวิชาการ หรือสมาชิกรัฐสภาเพื่อประกันตัวออกไป ส่วนอีกสองคนเสี่ยงจะถูกจับกุม ผู้ประท้วงอีก 16 คนถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกัน และมีกำหนดเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2563

หนึ่งในผู้ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมได้แก่ ทนายอานนท์ นำภา โดยเขาถูกจับอีกครั้งโดยตำรวจสน.ชนะสงคราม เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม เนื่องจากการเข้าร่วมการชุมนุมที่มีการแต่งกายแบบแฮรี่พอตเตอร์ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม และทนายอานนท์ได้ปราศรัยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ต่อมาศาลให้ประกันตัวโดยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ ต่อมาตำรวจได้จับกุมภานุพงศ์ จาดนอก (ไมค์) และทนายอานนท์อีกครั้งในวันที่ 24 และ 25 สิงหาคมตามลำดับ เนื่องจากการเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ซึ่งในคดีนี้ ทั้งคู่ถูกตั้งข้อหาร้ายแรงรวมทั้งยุยงปลุกปั่นและนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ 

นับแต่การประกาศใช้มาตรการเข้มงวดตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ประชาชนหลายหมื่นคนรวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยและนักเรียนมัธยม ได้เข้าร่วมการชุมนุมเพื่อแสดงข้อเรียกร้องเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและการเมือง นอกจากข้อเรียกร้องหลักทั้งสามข้อจากที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมแล้ว ผู้ชุมนุมหลายคนเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษา ความเท่าเทียมระหว่างเพศ สิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ นำตัวผู้กระทำผิดในการบังคับบุคคลให้สูญหายมาลงโทษ รวมทั้งประเด็นอื่น ๆ หลังจากพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินมีผลบังคับใช้ ทางการได้เพิ่มการควบคุมตัวและการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลที่เข้าร่วมในการชุมนุมและกิจกรรมอย่างสงบ มีรายงานว่าผู้ประท้วงตกเป็นเป้าการคุกคามและข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นมากขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เพียงเพราะมีส่วนร่วมในการชุมนุมอย่างสงบ  

ภาษาที่ควรใช้เขียนถึงกลุ่มเป้าหมาย: อังกฤษ ไทย หรือภาษาของท่านเอง

 

กรุณาปฏิบัติการโดยเร็วสุด ก่อนวันที่: 21 ตุลาคม 2563

กรุณาตรวจสอบกับสำนักงานแอมเนสตี้ในประเทศของท่าน หากส่งจดหมายหลังวันที่กำหนด 

 

ชื่อและสรรพนามที่ควรใช้: [ใส่ชื่อ] (สรรพนามที่ควรใช้) นายอานนท์ นำภา (เขา) นายบารมี ชัยรัตน์ (เขา) นายชลธิศ โชติสวัสดิ์ (เขา) นายเดชาธร บํารุงเมือง (เขา) นายจักรธร ดาวแย้ม (เขา) นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (เขา) นางสาวจิรฐิตา ธรรมรักษ์ (เธอ) นางสาวจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ (เธอ) นายกานต์นิธิ ลิ้มเจริญ (เขา) นายกรกช แสงเย็นพันธ์ (เขา) นายกฤษณะ ไก่แก้ว

 (เขา) นางสาวลัลนา สุริโย (เธอ) นายณวรรษ เลี้ยงวัฒนา (เขา) นายณัฐพงษ์ ภูแก้ว (เขา) นายณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์ (เขา)นางสาวเนตรนภา อํานาจส่งเสริม (เธอ) นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (เธอ) นายภานุมาศ สิงห์พรม (เขา) นายภาณุพงศ์ จาดนอก (เขา) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เขา) นางสาวพิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ (เธอ) นายปรัชญา สุรกําจรโรจน์ (เขา) นางสาวสิรินทร์ มุ่งเจริญ (เธอ) นางสุวรรณา ศาลเหล็ก (เธอ) นายทักษกร มุสิกรักษ์ (เขา) นายทัตเทพ เรื่องประไพกิจเสรี (เขา) นายธนชัย เอื้อชา (เขา) นายธนายุทธ ณ อยุธยา (เขา) นายธานี สะสม (เขา) นายทศพร สินสมบุญ (เขา) นายยามารุดดิน ทรงศิริ (เขา)

อยากช่วยมากกว่านี้?